Page 83 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 83

บทที่ 4

                                          สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ


                        การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจข้าวนาปี จังหวัดพะเยา
                  ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ปีการผลิต 2564/65 มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบสถานภาพด้านเศรษฐกิจและ
                  สังคมของเกษตรกร และวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจข้าวนาปี

                  ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน โดยท าการส ารวจและเก็บข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่ปลูกข้าวนาปี
                  ในพื้นที่จังหวัดพะเยา สามารถสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะในภาพรวมการเพาะปลูกข้าวนาปีและ
                  แยกตามชนิดข้าว ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ดังนี้

                  4.1  สรุปผลการศึกษา

                             1) สถานภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร

                               เกษตรกรเป็นเพศชายร้อยละ 57.56 และเพศหญิงร้อยละ 42.44 อายุเฉลี่ย 59 ปี
                  ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 51-60 ปี ร้อยละ 45.93 และเป็นผู้ที่ส าเร็จการศึกษาร้อยละ 98.26
                  ของเกษตรกรทั้งหมด โดยระดับการศึกษาที่ส าเร็จมากที่สุด 3 ล าดับแรก ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษา

                  ร้อยละ 69.23 รองลงมาคือ มัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 15.98 และ
                  มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 10.06 ของเกษตรกรที่ส าเร็จการศึกษา ตามล าดับ
                               ลักษณะการถือครองที่ดิน ครัวเรือนเกษตรมีเนื้อที่ปลูกข้าวนาปีเฉลี่ย 7.55 ไร่ต่อครัวเรือน
                  เป็นที่ดินของตนเองร้อยละ 73.64 และที่ดินเช่าร้อยละ 26.36 ของเนื้อที่ถือครองทั้งหมด เอกสารสิทธิ์
                  ในที่ดินของตนเองส่วนใหญ่เป็นโฉนดร้อยละ 89.39 รองลงมาคือ ส.ป.ก. 4-01 ร้อยละ 5.58 และน.ส.3ก.

                  ร้อยละ 3.78 ตามล าดับ
                               ภาวะหนี้สินและการกู้ยืมเงิน ครัวเรือนเกษตรมีหนี้สินร้อยละ 67.44 และไม่มีหนี้สิน
                  ร้อยละ 32.56 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด วงเงินกู้เฉลี่ย 233,905.17 บาทต่อครัวเรือน เป็นการกู้ยืมเงิน

                  ในระบบทั้งหมด แหล่งเงินกู้ที่ส าคัญคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร้อยละ 96.78
                  สหกรณ์การเกษตรร้อยละ 1.36 และกองทุนหมู่บ้านร้อยละ 1.21 ตามล าดับ โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืม
                  เงินระยะยาวมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 67.21 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.80 ต่อปี
                               ปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตร ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 93.02 มีปัญหาด้านการผลิต

                  ทางการเกษตร โดยปัญหาที่พบมากที่สุด 3 ล าดับแรก ได้แก่ ราคาผลผลิตตกต่ าร้อยละ 72.50 รองลงมาคือ
                  ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงร้อยละ 68.75 และขาดแคลนน้ าเพื่อการเกษตรร้อยละ 48.13 ตามล าดับ
                               ปัญหาด้านการครองชีพและสังคม ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 37.21 มีปัญหาด้าน
                  การครองชีพและสังคม โดยปัญหาที่พบมากที่สุด 3 ล าดับแรก ได้แก่ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย

                  ร้อยละ 71.88 รองลงมาคือ สุขภาพไม่ดี สุขภาพไม่แข็งแรงร้อยละ 28.13 และขาดแคลนสาธารณูปโภค
                  พื้นฐานร้อยละ 17.19 ตามล าดับ
                              ความต้องการความช่วยเหลือด้านการผลิตทางการเกษตร ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 96.25
                  ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยความช่วยเหลือที่ต้องการมากที่สุด 3 ล าดับแรก ได้แก่
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88