Page 18 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 18

1-2






                  1.5  อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน
                             1) แบบสอบถามภาวะเศรษฐกิจและสังคม การใช้ปัจจัยการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทน
                  ในการผลิตพืชเศรษฐกิจข้าวนาปีตามความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดิน ปีการเพาะปลูก 2564/65

                             2) แผนที่ ประกอบด้วย แผนที่แสดงระดับความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดินในการ
                  ปลูกข้าวนาปี และแผนที่กลุ่มชุดดินมาตราส่วน 1: 50,000
                             3) เครื่องคำนวณระบบกำหนดตำแหน่งพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System: GPS)
                             4) แอปพลิเคชั่น Agri-Map Mobile และ LDD Soil Guide

                  1.6   วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน

                             1) ศึกษาข้อมูลและจัดทำเครื่องมือ
                                ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการสำรวจ
                  รวบรวมข้อมูล ออกแบบ จัดทำเครื่องมือการเก็บข้อมูล และวางแผนการปฏิบัติงานรวมทั้งประสาน

                  ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                             2) การเก็บรวบรวมข้อมูล
                                รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยสามารถจัดประเภทข้อมูลได้ 2 ประเภท

                                2.1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกร
                  โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires)
                                2.2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำการเก็บรวบรวมจาก
                  เอกสารวิชาการ ผลงานวิจัย รายงาน บทความ และระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว
                  ใช้อ้างอิงและประกอบการศึกษา

                             3) การวิเคราะห์ข้อมูล
                                ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจะนำมาตรวจสอบ เพื่อแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
                  แล้วนำมาประมวลผลในสำนักงาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel และตรวจสอบ

                  ความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมการปลูกข้าวนาปีและแยกตามชนิดข้าว
                  คือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)
                  แสดงผลเป็นค่าร้อยละ และหรือค่าเฉลี่ย แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
                                3.1) การวิเคราะห์สถานภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร โดยใช้ค่าเฉลี่ย

                  และค่าร้อยละ
                                3.2) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ
                  โดยวิเคราะห์และสรุปข้อมูลมาเป็นค่าเฉลี่ยต่อหน่วยหรือต่อพื้นที่ 1 ไร่ ได้แก่
                                    (1) การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย ต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนผันแปร

                  และต้นทุนคงที่
                                       - ต้นทุนรวมทั้งหมด (Total Cost: TC) เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการผลิต โดยรวม
                  ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ การคำนวณต้นทุนรวมมีวิธีการดังนี้
                                         ต้นทุนทั้งหมด = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่

                                                  TC = TVC + TFC
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23