Page 19 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 19

1-3





                                       - ต้นทุนผันแปร (Total Variable Cost: TVC) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ

                  การผลิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต ค่าใช้จ่ายประเภทนี้เกษตรกรสามารถเพิ่มหรือลดได้
                  ในช่วงระยะเวลาการผลิตพืช
                                       - ต้นทุนคงที่ (Total Fixed Cost: TFC) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกร

                  ถึงแม้จะไม่ได้ทำการผลิตพืช เนื่องจากค่าใช้จ่ายประเภทนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตพืช
                                    (2) การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน ประกอบด้วย ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด
                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด
                                       ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด    = ผลต่างระหว่างมูลค่าผลผลิตที่ได้ทั้งหมด
                                                                                 กับต้นทุนที่เป็นเงินสดทั้งหมด

                                       ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร   = ผลต่างระหว่างมูลค่าผลผลิตที่ได้ทั้งหมด
                                                                                           กับต้นทุนผันแปรทั้งหมด
                                       ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด = ผลต่างระหว่างมูลค่าผลผลิตทั้งหมด

                                                                                           กับต้นทุนทั้งหมด
                                    (3) การวิเคราะห์ความคุ้มค่า (ความเป็นไปได้) ทางเศรษฐศาสตร์เป็นการ
                  วิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis) หมายถึง ขบวนการที่ถูกนำมาใช้ในการกำหนดหรือ
                  วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ของการลงทุนในโครงการหนึ่งหรือเพื่อใช้เปรียบเทียบ

                  ความสามารถในการทำกำไรระหว่างโครงการลงทุนที่มีโอกาสเลือกตั้งแต่สองโครงการขึ้นไป (สมศักดิ์, 2531)
                  ใช้หลักการวิเคราะห์ดังนี้ อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit-Cost Ratio : B/C Ratio)
                  เป็นเกณฑ์วัดประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) และเปรียบเทียบผลได้หรือผลตอบแทนที่ได้รับ
                  จากการลงทุนว่าเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการลงทุน

                  กล่าวคือ เป็นการเปรียบเทียบมูลค่าของผลตอบแทนที่ได้รับจากการผลิตพืชกับค่าใช้จ่ายหรือ
                  ต้นทุนทั้งหมด ขนาดของ B/C Ratio ที่ได้อาจจะมีค่าเท่ากับ 1 มากกว่า 1 หรือน้อยกว่า 1 ก็ได้ ค่าที่ได้
                  แสดงถึงประสิทธิภาพของทุนที่ใช้กล่าวคือ B/C Ratio แสดงให้ทราบว่าจำนวนเงิน 1 หน่วยที่ใช้เพื่อ
                  การลงทุน (ต้นทุน) ให้ค่าปัจจุบันของผลตอบแทนเท่ากับเท่าไหร่ และหลักเกณฑ์การตัดสินใจ

                  พิจารณา จากค่า B/C Ratio ถ้ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 จึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนและไม่ควรลงทุน
                  เมื่อ B/C Ratio มีค่าน้อยกว่า 1
                                    (4) การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even Point) คือจุดที่รายรับทั้งหมด เท่ากับ

                  ต้นทุนทั้งหมด เป็นการหาปริมาณผลผลิตที่จุดคุ้มทุนด้วยวิธีกำไรส่วนเกิน (ไพจิตร ชัยสิทธิ์, 2558)

                                       สูตรที่ใช้ในการคํานวณ
                                       TR                =   TC

                                       P × Q             =   TFC + TVC
                                                             TFC + (AVC × Q)

                                       (P - AVC) × Q     =   TFC
                                       Q                 =   TFC/(P - AVC)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24