Page 13 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 13

บทสรุปส ำหรับผู้บริหำร



                             รายงานการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจข้าวนาปี
                  จังหวัดพะเยา ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ปีการเพาะปลูก 2564/65 เป็นการศึกษาข้อมูลเพื่อ
                  สนับสนุนโครงการคาดการณ์ผลผลิตสินค้าเกษตร เพื่อจัดท าแบบจ าลองและน าข้อมูลแสดงผลในระบบ

                  แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตล่วงหน้า
                  ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อทราบ
                  สถานภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร และ (2) เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                  ของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจข้าวนาปีตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา

                  คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปีในจังหวัดพะเยา โดยศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิด้วยการสัมภาษณ์เกษตรกร
                  และข้อมูลทุติยภูมิจากการรวบรวมเอกสารวิชาการ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
                  (Descriptive Analysis) การวิเคราะห์สถานภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร แสดงผล
                  ด้วยค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ย

                  ต่อหน่วยหรือต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมการปลูกข้าวนาปีและแยกตามชนิดข้าว
                  คือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ดังนี้
                             สถำนภำพด้ำนเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร
                             ข้อมูลทั่วไป เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 59 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ส าเร็จการศึกษาร้อยละ 98.26

                  ของเกษตรกรทั้งหมด และส าเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุดร้อยละ 69.23 ของเกษตรกร
                  ที่ส าเร็จการศึกษาทั้งหมด กำรถือครองที่ดิน มีเนื้อที่ปลูกข้าวนาปีเฉลี่ย 7.55 ไร่ต่อครัวเรือน เป็นที่ดิน
                  ของตนเองร้อยละ 73.64 และที่ดินเช่าร้อยละ 26.36 ของเนื้อที่ถือครองทั้งหมด  ภำวะหนี้สินและกำร

                  กู้ยืมเงิน ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 67.44 เป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน จ านวนเงินกู้เฉลี่ย 233,905.17
                  บาทต่อครัวเรือน เป็นการกู้ยืมเงินในระบบทั้งหมด ปัญหำด้ำนกำรผลิตทำงกำรเกษตร ครัวเรือน
                  เกษตรร้อยละ 93.02 มีปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตร ปัญหาที่พบมากที่สุด 3 ล าดับแรก ได้แก่
                  ราคาผลผลิตตกต่ าร้อยละ 72.50 รองลงมาคือ ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงร้อยละ 68.75 และขาดแคลนน้ า
                  เพื่อการเกษตรร้อยละ 48.13 ตามล าดับ โดยความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ต้องการมากที่สุด 3 ล าดับแรก

                  ได้แก่ จัดหาปัจจัยการผลิตคุณภาพดีราคาต่ ากว่าท้องตลาดร้อยละ 59.74 รองลงมาคือ ประกันรายได้
                  เกษตรกรร้อยละ 55.84 และประกันราคาผลผลิตร้อยละ 44.16 ตามล าดับ ปัญหำด้ำนกำรครองชีพ
                  และสังคม ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 37.21 มีปัญหาด้านการครองชีพและสังคม ปัญหาที่พบมากที่สุด

                  3 ล าดับแรก ได้แก่ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายร้อยละ 71.88 รองลงมาคือ สุขภาพไม่ดี สุขภาพ
                  ไม่แข็งแรงร้อยละ 28.13 และขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานร้อยละ 17.19 ตามล าดับ โดยทั้งหมด
                  ต้องการให้จัดหาแหล่งน้ าเพื่อการบริโภคและอุปโภค ทัศนคติทำงกำรเกษตร แนวคิดในการเพิ่มผลผลิต
                  ของเกษตรกร 3 ล าดับแรก ได้แก่ การเพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมีร้อยละ 63.37 รองลงมาคือ การลงทุน

                  จัดหาแหล่งน้ าร้อยละ 31.98 และป้องกันวัชพืช โรคพืช และศัตรูพืชร้อยละ 7.56 ตามล าดับ ซึ่งครัวเรือน
                  เกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 97.09 ไม่คิดเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช และครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ
                  93.02  ไม่มีการวางแผนเปลี่ยนไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18