Page 132 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่สรวย
P. 132

4-15






                  4.2  มาตรการด าเนินงานพัฒนาพื้นที่ลุ่มน ้าสาขาน ้าแม่สรวย

                        การด าเนินการจัดการหรือพัฒนาพื้นที่ลุ่มน ้าสาขาน ้าแม่สรวย ต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็น
                  ระบบครอบคลุมทุกมิติทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมซึ่ง

                  จ าเป็นต้องมีมาตรการการด าเนินงานด้านต่างๆ รองรับเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่

                  ลุ่มน ้าไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับแผนการใช้ที่ดินที่ก าหนดขึ้น ดังนี้
                        4.2.1  มาตรการด้านการบริหารจัดการ

                            การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน ้ายังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการจัดการลุ่มน ้า

                  อย่างชัดเจน ต้องอาศัยกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ เช่น กฎหมายด้านทรัพยากรป่าไม้
                  ทรัพยากรน ้า การส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นต้น ท าให้การปฏิบัติงานขาดความเป็นเอกภาพ

                  ระบบราชการไม่สามารถบูรณาการกันได้จริงจัง ท าให้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติขาดประสิทธิภาพ

                  ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาลุ่มน ้ามีประสิทธิภาพและยั่งยืน ควรก าหนดมาตรการด้านการบริหารจัดการลุ่มน ้า

                  ดังนี้
                            1)  เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการบริหารจัดการเป็นระบบลุ่มน ้า

                  ให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของลุ่มน ้า

                            2)  ถ่ายโอนภารกิจการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น

                  จากหน่วยงานส่วนกลางให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพให้องค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านวิชาการ กฎหมาย และแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สิ่งแวดล้อมให้พร้อมรับการถ่ายโอนภารกิจตามกฎหมาย

                            3)  แต่งตั้งคณะท างานในระดับพื้นที่ โดยมีตัวแทนของทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
                  และชุมชน เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน ้า โดยไดรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

                  ลุ่มน ้า

                            4)  สร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
                  และสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งอ านาจหน้าที่ในการอนุญาตและการตรวจสอบออกจากกันให้ชัดเจน

                            5)  สร้างกระบวนการการประสานงานและการท างานอย่างบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง

                  หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชนให้เอื้อ
                  ประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น โดยก าหนดนโยบายการบริหารการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  หน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐทั้งหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นให้ชัดเจน

                            6)  จัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ ศึกษาดูงาน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและ

                  ถ่ายทอดสู่ชุมชนในเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137