Page 99 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่ลาว
P. 99

3-43





                  พืชไร่และไม้ยืนต้น ไม้ผล รองลงมาเป็นระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด มีเนื้อที่
                  337,908 ไร่หรือร้อยละ 19.35 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นลูกเคลื่อนลอนลาดถึงเป็นภูเขา

                  สูงชัน มีการปลูกพืชไร่ และท าไร่หมุนเวียน ส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ลุ่ม

                  น ้าสาขาควรจะเร่งรัดให้มีการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน ้าที่เหมาะสม เพื่อลดการชะล้างพังทลายของ
                  ดิน

                              เพื่อเป็นการลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน ้าสาขาน ้าแม่ลาว (0303)

                  ในพื้นที่ที่มีระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินปานกลางถึงรุนแรงมากที่สุดนั้น ควรมีมาตรการ
                  จัดระบบอนุรักษ์ดินและน ้าที่เหมาะสมส าหรับแต่ละพื้นที่ โดยอาจจะมีการปลูกพืชตามแนวระดับหรือขวาง

                  ความลาดเท ซึ่งเป็นวิธีการที่สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยไม่ต้องใช้แรงงานมาก อย่างไรก็ตามในพื้นที่

                  บางแห่งที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงควรจะ

                  ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินอย่างยั่งยืน
                  ตารางที่ 3-5  เนื้อที่ระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินในลุ่มน ้าสาขาน ้าแม่ลาว (0303)


                                                                                  เนื้อที่
                           ระดับความรุนแรงของการสูญเสียดิน
                                                                           ไร่             ร้อยละ
                                               น้อย                     801,682            45.92

                                               ปานกลาง                  479,620            27.47

                                               รุนแรง                    97,840             5.61

                                               รุนแรงมาก                 28,850             1.65

                                               รุนแรงมากที่สุด          337,908            19.35
                                         รวม                           1,745,900           100.00


                  หมายเหตุ : เนื้อที่ค านวณด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
                  ที่มา : กลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2560)
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104