Page 64 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่ลาว
P. 64

3-8





                  อยู่ในระดับยากมาก ส่วนความยากง่ายในการเขตกรรมอยู่ในระดับยาก ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 48C  48D

                  และ 48E

                                (2.6) หน่วยที่ดินที่เป็นดินลึกปานกลาง

                                  - หน่วยที่ดินที่เป็นดินปานกลางถึงชั้นหินพื้น เศษหินหรือลูกรัง เกิดจาก
                  การสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นก าเนิดที่มาจากหิน

                  เนื้อละเอียดที่มีปูน มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา ความลาดชัน 5 - 35 เปอร์เซ็นต์

                  การระบายน ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกมากกว่า
                  20 เซนติโมลต่อกิโลกรัม ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง 35 - 75 เปอร์เซ็นต์ ดินบนมีค่าความเป็นกรด

                  เป็นด่าง 5.5 - 6.5 และดินล่างมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0 – 7.0 การหยั่งลึกของรากในดินบน ดินล่าง

                  และความยากง่ายในการเขตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 55C  55D และ 55E

                                  - หน่วยที่ดินที่เป็นดินปานกลางถึงชั้นหินพื้น เศษหินหรือลูกรัง เกิดจาก
                  การสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นก าเนิดที่มาจากวัสดุ

                  เนื้อค่อนข้างหยาบที่มาจากพวกหินตะกอน มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเนินเขา ความลาดชัน

                  2 - 35 เปอร์เซ็นต์ การระบายน ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต ่า ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก
                  น้อยกว่า 10 เซนติโมลต่อกิโลกรัม ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ดินบน

                  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0 - 6.0 และดินล่างมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5 – 5.0 การหยั่งลึกของราก

                  ในดินบน ดินล่าง และความยากง่ายในการเขตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 56B
                  56C  56D และ 56E

                                (2.7) หน่วยที่ดินที่มีความลาดชันสูง

                                  - พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะและ

                  สมบัติของดินที่พบไม่แน่นอน มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตาม
                  ธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นก าเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหินก้อนหินหรือพื้นโผล่

                  กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง

                  หรือป่าดงดิบชื้น หลายแห่งมีการท าไร่เลื่อนลอยโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน ้าซึ่ง

                  เป็นผลท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินจนบางแห่งเหลือแต่หินโผล่ ได้แก่ หน่วยที่ดินที่ 62
                              3)  พื้นที่อื่นๆ ได้แก่ ที่ดินดัดแปลง (ML) ที่ดินเต็มไปด้วยก้อนหิน (RL) พื้นที่ชุมชน

                  และสิ่งปลูกสร้าง (U) และพื้นที่น ้า (W)
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69