Page 176 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่ลาว
P. 176

4-16






                            2)  เขตอุตสาหกรรม มีเนื้อที่ 2,705 ไร่ หรือร้อยละ 0.15 ของเนื้อที่ลุ่มน ้ าสาขา
                  ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม และเหมืองแร่ เขตอุตสาหกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 2 เขตย่อย คือ

                              (2.1)  เขตโรงงาน มีเนื้อที่ 2,473 ไร่ หรือร้อยละ 0.14 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา ส่วนใหญ่

                  เป็นอุตสาหกรรมก่อสร้างอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โรงงาน
                  อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่อ าเภอเวียงป่าเป้า อ าเภอแม่สรวย อ าเภอแม่ลาว อ าเภอพาน

                  และอ าเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                                1)  ควบคุมมลพิษทางน ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยการจัดท าระบบการบ าบัด
                  น ้าเสียที่ถูกต้องและก าหนดนโยบายให้ผู้ก่อมลพิษต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการด าเนินการแก้ไข

                  ปัญหาและเสียค่าใช่จ่ายในการจัดการมลพิษ

                                2)  หมั่นตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบ าบัดน ้าเสียของโรงงาน และควบคุม
                  การระบายน ้าเสียอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสกปรกของน ้าก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน ้าสาธารณะ

                                3)  ส่งเสริมและผลักดันให้สถานประกอบการทุกขนาดเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว

                  ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                                4)  ผลักดัน ส่งเสริมและสนับสนุนการท ากิจกรรม Corporate Social Responsibility

                  (CSR) ของผู้ประกอบการโรงงาน เพื่อประโยชน์สุขแก่องค์กรและสังคมอันน าไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

                  และสังคมอยู่ด้วยกันอย่างปกติสุข

                            (2.2)  เขตเหมืองแร่ มีเนื้อที่ 231 ไร่ หรือร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่ลุ่มน ้าสาขา พื้นที่ใน
                  เขตนี้มีสภาพเป็นเหมืองแร่อุตสาหกรรม พบเฉพาะบริเวณอ าเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

                                รูปแบบและแนวทางการพัฒนา

                                1)  ควบคุมให้ผู้ประกอบการกิจการเหมืองแร่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติแร่
                  หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดหมั่นตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบ าบัดน ้าเสียของเหมือง

                  แร่และควบคุมการระบายน ้าเสียเพื่อลดความสกปรกของน ้าก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน ้าสาธารณะ

                                2)  ส่งเสริมการท าอุตสาหกรรมแร่สีเขียวสะอาดตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                  ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดโดยการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ มีมาตรการที่ดี
                  และปฏิบัติตามมาตรการ เงื่อนไข ระเบียบและกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด

                                3)  ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

                  และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท าเหมืองแร่ ตลอดจนการฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการท าเหมืองแร่ให้มี
                  การใช้ประโยชน์ตามศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของชุมชน
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181