Page 63 - Phetchaburi
P. 63

2-43





                                (3) การประมง

                                  จังหวัดเพชรบุรี มีลุมน้ำเพชรบุรีเปนลำดับที่ 19 ใน 25 ลุมน้ำ โดยมีแหลงน้ำตาม
                  ธรรมชาติที่สำคัญประกอบไปดวยแมน้ำลำคลองหลายสายซึ่งมีความสำคัญตอการเปนอยูของเกษตรกร
                  ไดแก แมน้ำเพชรบุรี ตนน้ำจากเทือกเขาสูงชันทางดานตะวันตกของจังหวัด ไหลผานอำเภอแกงกระจาน

                  อำเภอทายาง อำเภอบานลาด อำเภอเมืองเพชรบุรี แลวลงสูอาวไทย ที่อำเภอบานแหลม มีความยาว
                  217 กิโลเมตร เปนแมน้ำที่มีความสำคัญของจังหวัดเพชรบุรี ตั้งแตในอดีตจนถึงปจจุบัน แมน้ำบางกลอย
                  ตนน้ำจากเทือกเขาในเขตอำเภอหนองหญาปลอง ไหลมาบรรจบแมน้ำเพชรบุรี บริเวณอำเภอแกงกระจาน
                  มีความยาว 45 กิโลเมตร หวยแมประโดน ตนน้ำเกิดจากเทือกเขาบริเวณเขตติดตอระหวางอำเภอ

                  หนองหญาปลองกับอำเภอปากทอ จังหวัดราชบุรี และมีสาขาสำคัญ ไดแก หวยมะเร็ว หวยเสือกัดชาง
                  หวยสมุลแวง และไหลมาบรรจบแมน้ำเพชรบุรี ในบริเวณเขตอำเภอแกงกระจาน มีความยาว 56 กิโลเมตร
                  หวยแมประจันต ตนน้ำจากเทือกเขาในจังหวัดราชบุรี ไหลผานอำเภอหนองหญาปลอง และไหลมา
                  บรรจบแมน้ำเพชรบุรีบริเวณเขื่อนเพชรบุรีในเขตอำเภอทายาง มีความยาว 60 กิโลเมตร และแมน้ำบางตะบูน

                  เปนสาขาของแมน้ำเพชรบุรี ซึ่งไหลยอนขึ้นไปทางเหนือผานอำเภอเขายอยอำเภอบานแหลม ออกสูอาวไทย
                  ที่ปากอาวบางตะบูน อำเภอบานแหลม มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร นอกจากนี้จังหวัดเพชรบุรี
                  มีพื้นที่ติดตอกับชายฝงทะเลดานตะวันออกติดตอกับอาวไทยตั้งแตอำเภอบานแหลมจนถึงอำเภอชะอำ
                  รวมระยะทางประมาณ 82 กิโลเมตร ทำใหจังหวัดเพชรบุรีมีศักยภาพการประมงในระดับสูง ทั้งในดาน

                  ประมงน้ำจืด และประมงน้ำเค็ม
                                     ประมงน้ำจืด จำนวนฟารมเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตวน้ำจืด ป 2563 มีจำนวน
                  377 ฟารม รวมเนื้อที่ 1,974.63 ไร โดยอำเภอที่มีฟารมที่เพาะเลี้ยงสัตวน้ำจืดมากที่สุด คือ อำเภอบานแหลม
                  108 ฟารม รองลงมา อำเภอเขายอย และอำเภอเมืองเพชรบุรี มีฟารมที่เพาะเลี้ยงสัตวน้ำจืด 78 และ

                  59 ฟารม ตามลำดับ ขณะที่เมื่อพิจารณากำลังการผลิต พบวา อำเภอบานแหลม มีผลผลิตการเลี้ยงสัตว
                  น้ำจืดมากที่สุด 407,200 ตัน รองลงมา อำเภอเขายอย 356,880 ตัน และอำเภอเมืองเพชรบุรี 334,100 ตัน
                  ตามลำดับ (ตารางที่ 2-29 และรูปที่ 2-15)
                                     ประมงน้ำเค็ม ปริมาณสัตวน้ำเค็มที่จับไดจากการทำประมงพาณิชยและนำมา

                  ขึ้นทาเทียบเรือในจังหวัดเพชรบุรี ป 2563 สามารถจับสัตวน้ำเค็มได 16,432 ตัน คิดเปนมูลคา 942.85
                  ลานบาท สวนใหญเปนสัตวน้ำเค็มจำพวกปลาเศรษฐกิจสำหรับบริโภคและปลาเปด มีปริมาณ 8,210 ตัน
                  คิดเปนมูลคา 254.38 ลานบาท รองลงมา หอย มีปริมาณ 5,032 ตัน คิดเปนมูลคา 298.15 ลานบาท

                  และปลาหมึก มีปริมาณ 3,005 ตัน คิดเปนมูลคา 37.76 ลานบาท ขณะที่เมื่อจำแนกเครื่องมือ
                  การทำประมง พบวา สวนใหญใชเบ็ดมือเปนหลัก คิดเปนรอยละ 35.51 รองลงมา อวนครอบหมึก และ
                  อวนลอย อวนจม และอวนลอมติดตา คิดเปนรอยละ 17.71 และ 14.08 ตามลำดับ (ตารางที่ 2-30 รูปที่ 2-16
                  และตารางที่ 2-31)
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68