Page 41 - Phetchaburi
P. 41

2-21





                        2.6.2 พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด

                             พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ พืชที่มีอนาคต พืชเสริมรายได และพืชทางเลือก ซึ่งปจจุบันปลูกอยู
                  ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และมีศักยภาพในการปลูกในอนาคต ไดแก
                             (1) พืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเปนพืชที่มีอนาคตทั้งดานคุณภาพและราคาตลาด เปนพืช
                  อัตลักษณของจังหวัดเพชรบุรี คือ ตาลโตนด ชมพูเพชร มะนาวเพชรบุรี

                               ตาลโตนด (เลขที่คำขอ 56100048) (กรมทรัพยสินทางปญญา, 2565) เปนพืชตระกูล
                  ปาลมใบพัดชนิดหนึ่ง ชอบอากาศรอน ชอบขึ้นในดินทรายหรือดินปนทราย และดินเหนียวแตในที่เปยกแฉะ
                  เชน ตามทุงนาตาลโตนดก็เจริญงอกงามดีในที่ดินทรายน้ำกรอยขึ้นถึง ก็จะยิ่งโตเร็วและมีน้ำหวานจัด
                  นอกจากนี้ยังชอบขึ้นในที่ไมมีพืชปกคลุม เปนพืชที่เจริญเติบโตไดดีในสภาพคอนขางแหงแลงไมชอบดิน
                  กรดแตก็เจริญเติบโตในที่ชุมชื้นได ตาลโตนดจัดเปนไมตระกูลเกาแกตระกูลหนึ่งในโลกซึ่งมีมากกวา

                  4,000 ชนิด (Species) เปนตน ไมที่มีอายุยืนนับเปนรอยป และอยูกับจังหวัดเพชรบุรีมาตั้งแตโบราณกาล
                  และมีผลผลิตจากตนตาลโดยเฉพาะน้ำตาลโตนดยังเปนสวนผสมที่สำคัญในการทำขนมหวานเมืองเพชรซึ่งมี
                  ชื่อเสียงตั้งแตอดีตถึงปจจุบัน
                               ชมพูเพชร (เลขที่คำขอ 51100054) (กรมทรัพยสินทางปญญา, 2565) เปนชมพูพันธุ
                  เพชรสายรุงรูปทรงผลคลายระฆังคว่ำ เนื้อภายในสีขาว แข็งกรอบ รสชาติหวาน ตรงกลางผลปอง

                  เล็กนอย ผลแกจัดมีเสนสีแดงและเสนสีเขียว ซึ่งปลูกในอําเภอเมืองเพชรบุรี อําเภอทายาง อําเภอบานลาด
                  และอําเภอบานแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเปนดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำใหมหรือเกิดจาก
                  ตะกอนแมน้ำลำคลองพัดพามาทับถมทุก ๆ ป เปนดินใหมอายุนอย ในจังหวัดเพชรบุรีสวนใหญจะพบ
                  บริเวณสองฝงแมน้ำเพชรบุรี มีความลาดชัน 1 - 5 เปอรเซ็นต ระบายน้ำคอนขางดีเปนดินรวนปนทราย
                  สีน้ำตาลปนเหลืองออน หนาดินลึกไมเกิน 30 เซนติเมตร มีอินทรียวัตถุสูง ดินบนเปนดินรวนปนทรายแปง

                  จนถึงดินรวนเหนียวปนทรายแปงสีน้ำตาล สีน้ำตาลเขม จนถึงน้ำตาลปนเทา ความเปนกรดเปนดาง
                  ประมาณ 5.5 - 6.5 ดินชั้นลางเนื้อดินและสีไมแนนอน ขึ้นอยูกับตะกอนที่น้ำพามาทับถมในแตละป
                  เนื้อดินเปนดินรวนปนทรายแปงหรือดินรวนเหนียวปนทรายสลับกันไปมา เปนดินที่มีประมาณ
                  ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมคอนขางสูง

                               มะนาวเพชรบุรี (เลขที่คำขอ 51100055) (กรมทรัพยสินทางปญญา, 2565) เปน
                  มะนาวพันธุมะนาวแปน พันธุมะนาวไข พันธุมะนาวหนัง ลักษณะของผิวเปลือกบาง มี 8 - 12 กลีบ
                  เนื้อสีเหลืองออน รสเปรี้ยว กลิ่นหอมมะนาว ออกผลเปนพวงและดก ใหผลตลอดป รสชาติเปรี้ยวกลมกลอม
                  ไมเปรี้ยวจี๊ดหรือเปรี้ยวแหลม ใหน้ำมาก ลักษณะดินเหมาะสมตอการปลูกมะนาวเพชรบุรี เปนดินรวน
                  ปนทราย สีน้ำตาลปนเหลืองออน มีอินทรียวัตถุสูง มีสภาพภูมิอากาศอบอุนตลอดป ไมรอนหรือหนาวจัด

                  มีแหลงน้ำชลประทานและแมน้ำเพชรบุรีใชในการปลูกมะนาว
                             (2) พืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเปนพืชที่มีอนาคตทั้งดานคุณภาพและราคาตลาดของจังหวัด
                  เพชรบุรี ซึ่งสามารถพัฒนาเปนผลิตภัณฑแปรรูป ไดแก ขาวนาป ขาวนาปรัง กลวยหอม กลวยน้ำวา
                  สับปะรด ออยโรงงาน มะพราว และมันสำปะหลัง

                             (3) พืชที่จะปลูกตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ ไดแก พืชสมุนไพร พืชหลังนา
                  สรางรายไดผานกลไกสหกรณ และพืชทดแทนพลังงาน
                             (4) พืชเสริมรายได ไดแก ขาวโพดเลี้ยงสัตว พืชผัก หนอไมฝรั่ง ไมดอกไมประดับ ฯลฯ
                             (5) พืชทางเลือกเพิ่มเติมในอนาคต คือ หนอไมไผหวาน ปาลมน้ำมัน ไมผลผสม ยางพารา ฯลฯ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46