Page 11 - Nongbualamphu
P. 11

บทที่ 1


                                                         บทน ำ




                  1.1  หลักกำรและเหตุผล

                        ที่ดินและทรัพยากรดินเป็นฐานรองรับการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ตั้งแต่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานเพื่อ

                  การอยู่อาศัย จนถึงเป็นปัจจัยสนับสนุนการผลิตด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ในขณะที่การเพิ่มขึ้น
                  ของจ านวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นองค์ประกอบส าคัญให้เกิดการเร่งรัด

                  พัฒนาและการแข่งขันทางธุรกิจ ท าให้ความต้องการใช้ที่ดินเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้
                  ที่ดิน ซึ่งมีอิทธิพลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง คุณภาพ และสมรรถนะของดิน ศักยภาพของที่ดิน

                  และทรัพยากรดินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการสังคมจะลดทอนลง ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ส่งผล

                  กระทบต่อสังคม และปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ การถือครองที่ดิน ความขัดแย้งในสังคม การชะล้าง
                  พังทลาย การใช้สารเคมีในดิน เกิดการขยายพื้นที่เกษตรกรรมโดยบุกรุกยึดครองพื้นที่ป่าอย่างผิดกฎหมาย

                  การสูญเสียความสมดุลของระบบนิเวศธรรมชาติระหว่างดิน น้ า และป่า เกิดวิกฤตความเสื่อมโทรมของดิน
                  และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบระดับโลกในปัจจุบัน

                        การพัฒนาประเทศบนฐานการผลิตจากที่ดินและและทรัพยากรดิน มีแนวโน้มจะเกิดข้อจ ากัดมากขึ้น

                  ทั้งข้อจ ากัดจากปัจจัยภายในประเทศ อันเป็นผลจากความต้องการที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อใช้ประโยชน์
                  ในเชิงธุรกิจมีสูงขึ้น การเร่งรัดเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ การใช้

                  สารเคมีทางการเกษตร เกิดสารพิษตกค้างในดิน แหล่งน้ า และผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องในห่วงโซ่

                  อาหารของระบบนิเวศ นอกจากนี้ความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันมีระดับสูงขึ้น
                  ในขณะที่ระบบการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้

                  ประเด็นปัญหาด้านดินและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดิน มีความยุ่งยากในระดับท้องถิ่นและซับซ้อน

                  จนถึงขั้นวิกฤตในระดับประเทศ
                        จังหวัดหนองบัวล าภูจัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1 เป็นหนึ่งจังหวัดที่มี

                  สถานะของการพัฒนาด้านทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินเกี่ยวข้องกับข้อจ ากัดข้างต้น องค์ประกอบส าคัญ
                  ของจังหวัดหนองบัวล าภูเริ่มจากความเป็นมาอันยาวนานก่อนประวัติศาสตร์ ส่งผลให้จังหวัดมีความ

                  น่าสนใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่น ารายได้เข้าจังหวัด
                  เพิ่มขึ้นทุกปี ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นทุ่งนา ป่าไม้ และภูเขา พื้นที่เป็นดินปนทราย ดินลูกรังไม่เก็บกักน้ า

                  ในฤดูแล้ง ส่วนใหญ่เป็นภูเขา บางส่วนเป็นพื้นลูกคลื่น ลอนตื้นลอนลึก มีความสูงจากระดับน้ าทะเล ปาน

                  กลาง ประมาณ 200 เมตร ทางตอนบนของจังหวัดจะเป็นพื้นที่เขาสูง มีความลาดเอียงไปทางทิศใต้ ด้าน
                  ภูมิอากาศ ในฤดูฝนน้ าจะหลากไหลเอ่อท่วมพื้นที่ใกล้เคียงจนเกิดความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรม เกิด
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16