Page 80 - Sa Kaeo
P. 80

3-22





                  3.3  ทรัพยากรป่าไม้

                        การพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลทำให้ทรัพยากรที่ดินมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างไม่มี

                  ขีดจำกัด การขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคการเกษตรที่เร่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก กระตุ้นให้เกิดการ
                  บุกเบิกพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำการเกษตร รูปแบบการขยายพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศ
                  เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พื้นที่ป่าไม้จำนวนมากถูกบุกเบิกเพื่อการทำการเกษตร เพื่อการท่องเที่ยว และ
                  นำไปสู่การทำลายระบบนิเวศอันยากที่จะฟื้นคืน การขยายตัวของภาคเมืองและภาคอุตสาหกรรมเข้าไป

                  ในพื้นที่ราบในภาคการเกษตรนำไปสู่การสูญเสียระบบนิเวศและสร้างปัญหามลพิษ
                        การบริหารจัดการที่ดินของภาครัฐในอดีตสร้างปัญหาความขัดแย้งและกระตุ้นให้เกิดการใช้ที่ดิน
                  อย่างไม่เหมาะสม นำไปสู่ความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยสามารถจำแนก

                  ปัญหาในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ได้ดังนี้
                        1) การบุกรุกพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ
                        2) ความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดิน
                        3) การกระจายการถือครองที่ดินทำกิน
                        4) การไร้ที่ดินทำกิน

                        5) การไม่ทำประโยชน์ในที่ดินทำกินหรือการใช้ที่ดินไม่เต็มศักยภาพ
                        6) การถือครองที่ดินขนาดใหญ่
                        7) ปัญหาการบริหารจัดการที่ดิน

                        นโยบายการบริหารจัดการที่ดินของรัฐความพยายามที่จะบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
                  ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ จากสถานการณ์ป่าไม้ของประเทศที่พื้นที่ป่า
                  ลดลงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดปัญหามีดังนี้

                        1) นโยบาย แผน และองค์กรที่เกี่ยวข้องมีปัญหา กล่าวคือนโยบายด้านการบริหารจัดการ
                  ทรัพยากรป่าไม้ขาดเอกภาพและเป้าหมายที่ชัดเจน นโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจและ
                  พัฒนาการท่องเที่ยวทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้ นโยบายแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินป่า

                  ไม้ขาดความยั่งยืนและชัดเจนในทางปฏิบัติ องค์กรด้านบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ขาดเอกภาพและ
                  ไม่เอื้อต่อการบริหารและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น
                        2) ระบบฐานข้อมูลที่ดินป่าไม้ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือแนวเขตป่าไม้และที่ดินของรัฐประเภทอื่นไม่
                  ชัดเจนและมีการทับซ้อนกัน การจำแนกพื้นที่ที่ดินป่าไม้เพื่อการบริหารจัดการ (Zoning) ยังไม่มี
                  ประสิทธิภาพและไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริงในปัจจุบัน ฐานข้อมูลผู้ใช้ประโยชน์ และผู้ครองครอง

                  พื้นที่เขตป่าไม้และที่ดินของรัฐประเภทอื่นยังไม่ครบถ้วนและทันสมัย
                        3) กฎหมายที่มีอยู่ไม่ทันสมัย ขาดประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหา กล่าวคือ
                  กฎหมายบางมาตราไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับเขตป่าและที่ดิน กฎหมายบางฉบับไม่สามารถบังคับใช้ได้

                  อย่างเป็นระบบหรือครบวงจร









                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85