Page 78 - Sa Kaeo
P. 78

3-20





                              จากข้อมูลกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (2557) จังหวัดสระแก้ว เป็นชนิดหินให้น้ำ

                  มีรายละเอียดดังนี้ ดังตารางที่ 3-6 และรูปที่ 3-6
                              - ชั้นหินให้น้ำที่เป็นตะกอนกรวดทราย มีเนื้อที่ 388,598 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.64 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย กรวด ทราย ทรายแป้ง เสาหิน และดินเหนียว ซึ่งยังไม่จับตัวกัน น้ำใต้ดินจะถูก
                  กักเก็บอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนต่างๆ ได้แก่ ชั้นหินอุ้มน้ำตะกอนเศษหินเชิงเขา (Qcl)
                              - ชั้นหินให้น้ำที่เป็นหินตะกอน มีเนื้อที่ 1,796,133 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 39.95 ของเนื้อที่

                  จังหวัด ประกอบด้วยหินทราย หินดินดาน หินน้ำมัน หินกรวดมน หินเชิร์ต หินโคลน หินชนวน
                  หินควอร์ตไซต์ และหินลิกไนต์ โดยน้ำใต้ดินจะถูกกักเก็บไว้ในรอยแตก รอยเลื่อน หรือรอยต่อระหว่าง
                  ชั้นหิน ได้แก่ ชั้นหินอุ้มน้ำหินชุดโคราชตอนกลาง (Jmk) ชั้นหินอุ้มน้ำหินชุดโคราชตอนล่าง (TRJIk) และ
                  ชั้นหินอุ้มน้ำหินชุดพระวิหาร (Pw)
                              - ชั้นหินให้น้ำที่เป็นหินคาร์บอเนต มีเนื้อที่ 284,180 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.32 ของเนื้อที่
                  จังหวัด คุณสมบัติการกักเก็บน้ำบาดาล ขึ้นอยู่กับโพรงของหินปูนใต้ดิน รอยแตก ได้แก่ ชั้นหินอุ้มน้ำหิน

                  คาร์บอเนตอายุเพอร์เมียน (Pc)
                              - ชั้นหินให้น้ำที่เป็นหินอัคนีและหินแปร มีเนื้อที่ 2,028,050 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 45.09
                  ของเนื้อที่จังหวัด คุณสมบัติการกักเก็บน้ำบาดาล ขึ้นอยู่กับโพรงของหินและแนวรอยแตก ได้แก่ ชั้นน้ำ
                  หินแปรอายุไซลูเรียน-ดีโวเนียน (SDmm) ชั้นหินอุ้มน้ำหินแกรนิต (Gr) ชั้นหินอุ้มน้ำหินชั้นกึ่งแปรยุค

                  ใหม่ (TRms) ชั้นหินอุ้มน้ำหินชั้นกึ่งแปรอายุคาร์บอนิเฟอรัส (Cms) ชั้นหินอุ้มน้ำหินชั้นกึ่งแปรอายุเพอร์
                  เมียน คาร์บอนิเฟอรัส (PCms) และชั้นหินอุ้มน้ำหินภูเขาไฟ (Vc)

                  ตารางที่ 3-6 ชั้นหินอุ้มน้ำในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว

                                                                                       เนื้อที่
                                          ชั้นหินให้น้ำ
                                                                                   ไร่        ร้อยละ
                   ชั้นหินให้น้ำที่เป็นตะกอนกรวดทราย                            388,598         8.64
                      ชั้นหินอุ้มน้ำตะกอนเศษหินเชิงเขา (Qcl)                     388,598        8.64
                   ชั้นหินให้น้ำที่เป็นหินตะกอน                                1,796,133       39.95
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินชุดโคราชตอนกลาง (Jmk)                      66,698        1.49
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินชุดโคราชตอนล่าง (TRJIk)                 1,007,002       22.39
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินชุดพระวิหาร (Pw)                          722,433       16.07
                   ชั้นหินให้น้ำที่เป็นหินคาร์บอเนต                             284,180         6.32
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินคาร์บอเนตอายุเพอร์เมียน (Pc)              284,180        6.32
                   ชั้นหินให้น้ำที่เป็นหินอัคนีและหินแปร                       2,028,050       45.09
                      ชั้นน้ำหินแปรอายุไซลูเรียน-ดีโวเนียน (SDmm)                131,897        2.93
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินแกรนิต (Gr)                                14,059        0.31
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินชั้นกึ่งแปรยุคใหม่(TRms)                1,449,424       32.23
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินชั้นกึ่งแปรอายุคาร์บอนิเฟอรัส (Cms)        12,265        0.27
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินชั้นกึ่งแปรอายุเพอร์เมียน คาร์บอนิเฟอรัส (PCms)   50,702   1.13
                      ชั้นหินอุ้มน้ำหินภูเขาไฟ (Vc)                              369,703        8.22
                                           รวมเนื้อที่                         4,496,961      100.00
                  ที่มา: ดัดแปลงจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (2557)




                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83