Page 68 - Sa Kaeo
P. 68

3-10





                              8) สารพิษ (Soil Toxicities : z) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ระดับความลึก

                  ของชั้น jarosite และความเป็นกรดด่างของดิน (Soil pH)

                                9) ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization : w) คุณลักษณะที่ดิน
                  ที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณก้อนหิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด

                  ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 นี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนโดยเครื่องจักร
                              10)  ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard : e) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                  ตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงโอกาสที่ดินจะถูกกัดกร่อนก็เป็นไปได้ง่าย

                            2. ประเภทการใช้ที่ดิน
                              ประเภทการใช้ที่ดิน หมายถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความแตกต่างกันในรายละเอียด
                  เช่น ชนิดของพืช พันธุ์พืช ระดับการจัดการ วิธีการปลูก ระบบและช่วงเวลาที่ปลูกชนิด และอัตราการใช้ปุ๋ย

                  จากการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ดำเนินการและความต้องการของเกษตรกรในจังหวัดสระแก้ว
                  สามารถกำหนดประเภทการใช้ที่ดินได้ดังตารางที่ 3-2
                            3. ผลการประเมินคุณภาพที่ดิน

                              จังหวัดสระแก้วพบว่ามีประเภทการใช้ที่ดินที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกพืชเศรษฐกิจ
                  หลักๆ ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ลำไย ยูคาลิปตัส
                  มะม่วง แคนตาลูป ขมิ้น และไพล จากการประเมินความเหมาะสมของที่ดินตามคู่มือการประเมิน
                  คุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ (บัณฑิต และคำรณ, 2542) สำหรับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  ดังกล่าว สามารถสรุปชั้นความเหมาะสมของที่ดินพร้อมทั้งเนื้อที่สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนี้
                              1) ข้าว
                                  ชั้นความเหมาะสมมาก (S1) ไม่มีข้อจำกัด

                                  ชั้นความเหมาะสมปานกลาง (S2) พบว่ามีข้อจำกัดด้านความเป็นประโยชน์ของ
                  ออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability : o) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability : s)
                  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity : n) สภาวะการหยั่งลึกของราก

                  (Rooting conditions : r) และสารพิษ (Soil Toxicities : z)
                              2) อ้อย
                                  ชั้นความเหมาะสมมาก (S1) ไม่มีข้อจำกัด

                                  ชั้นความเหมาะสมปานกลาง (S2) พบว่ามีข้อจำกัดด้านความเป็นประโยชน์ของ
                  ออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability : o) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient
                  availability : s) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity : n) สภาวะการหยั่งลึกของราก

                  (Rooting conditions : r) สารพิษ (Soil Toxicities : z) และความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard : e)
                                  ชั้นความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) พบว่ามีข้อจำกัดด้านสภาวะการหยั่งลึกของราก
                  (Rooting conditions : r) และด้านความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard : e)

                            3) มันสำปะหลัง
                                  ชั้นความเหมาะสมมาก (S1) ไม่มีข้อจำกัด







                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73