Page 65 - Sa Kaeo
P. 65

3-7





                        3.1.2 การชะล้างพังทลายของดิน

                            จากผลการประเมินการชะล้างพังทลายของดินของกรมพัฒนาที่ดิน (2563) โดยใช้สมการ
                  การสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation : USLE) ซึ่งจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน

                  เป็น 5 ระดับ พบว่า ความรุนแรงของการสูญเสียดินของจังหวัดสระแก้วอยู่ในระดับน้อย ปานกลาง รุนแรง
                  รุนแรงมาก และรุนแรงมากที่สุดตามลำดับ ดังนี้ (รูปที่ 3-3)
                            1) การสูญเสียดินน้อย มีเนื้อที่ 3,719,341 ไร่ หรือร้อยละ 82.71 ของเนื้อที่จังหวัด มีอัตรา
                  การสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ใน

                  ดินที่ลุ่มมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นนาข้าว ขณะที่ในพื้นที่ดอนมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นป่าไม่ผลัดใบ
                  สมบูรณ์ ยูคาลิปตัส และยางพารา
                            2) การสูญเสียดินปานกลาง มีเนื้อที่ 483,190 ไร่ หรือร้อยละ 10.74 ของเนื้อที่จังหวัด

                  มีอัตราการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
                  มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นอ้อยและมันสำปะหลังในดินที่ดอน ซึ่งเป็นดินลึกปานกลางและดิน
                  ร่วนหยาบ ขณะที่ในพื้นที่ลุ่มมีการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ การทำนาในพื้นที่ดินตื้นถึงชั้นลูกรัง หรือก้อนกรวด
                            3) การสูญเสียดินรุนแรง มีเนื้อที่ 289,893 ไร่ หรือร้อยละ 6.45 ของเนื้อที่จังหวัด มีอัตรา
                  การสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึง

                  ลูกคลื่นลอนลาด มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นมันสำปะหลัง อ้อย และยูคาลิปตัส ในบริเวณที่เป็น
                  ดินตื้นและดินร่วนหยาบ และมีปริมาณน้ำฝนสูง
                            4) การสูญเสียดินรุนแรงมาก มีเนื้อที่ 1,125 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด มี

                  อัตราการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพพื้นที่เป็นเนินเขาและลูกคลื่นลอนชัน
                  มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู มันสำปะหลัง และยางพารา ในพื้นที่ดินตื้น
                  ถึงชั้นหินพื้น
                            5) การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด มีเนื้อที่ 3,412 ไร่ หรือร้อยละ 0.08 ของเนื้อที่จังหวัด

                  มีอัตราการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพพื้นที่เป็นเนินเขาและลูกคลื่น
                  ลอนชัน มีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นมันสำปะหลังและอ้อย ในพื้นที่ดินตื้นถึงชั้นหินพื้น และมี
                  ปริมาณน้ำฝนสูง

                            การสูญเสียดินในพื้นที่จังหวัดสระแก้วส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยและปานกลาง ซึ่งอาจไม่
                  จำเป็นต้องมีมาตราอนุรักษ์ดินและน้ำแบบเข้มข้น แต่ควรป้องกันการบุกรุกทำลายป่า รักษาความอุดมสมบูรณ์

                  รักษาความชื้นในดิน และควรมีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมของดินที่จะเกิดขึ้น อย่างไร
                  ก็ตาม บางพื้นที่ของจังหวัดสระแก้วมีระดับการสูญเสียดินอยู่ในระดับรุนแรงมากที่สุด รุนแรงมาก และ
                  รุนแรง ซึ่งมีการกระจายอยู่บริเวณอำเภอวัฒนานคร อำเภอคลองหาด และอำเภอวังสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่
                  โดยบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นดินตื้นและมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพืชไร่ ดังนั้น ในพื้นที่ที่มีการสูญเสียดิน

                  ระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ต้องมีใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม โดยใช้มาตรการวิธีกลและวิธีพืช
                  ร่วมกัน เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และควรมีการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อป้องกันความ
                  เสื่อมโทรมของที่ดิน







                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70