Page 41 - Sa Kaeo
P. 41

2-29






                              1.4)  การถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                                  พ.ศ. 2563 เนื้อที่จังหวัดสระแก้วมีเนื้อที่ 4,496,962 ไร่ เป็นเนื้อที่ทำการเกษตร
                  2,300,472 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 51.16 ของเนื้อที่ทั้งหมด แบ่งเป็นเนื้อที่ของตนเอง 263,904 ไร่ และเป็น
                  เนื้อที่ของคนอื่น 2,036,568 ไร่ โดยเนื้อที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ 1,065,838 ไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 46.33 ของเนื้อที่ทำการเกษตร รองลงมาเป็นพื้นที่ทำนา  ไม้ผลและไม้ยืนต้น  และที่สวนผัก
                  ไม้ดอก ไม้ประดับ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน พ.ศ. 2563

                  เปรียบเทียบ พ.ศ. 2562 เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 2,317,596 ไร่
                  เป็น 2,300,472 ไร่ ลดลงร้อยละ 0.74 โดยการถือครองเนื้อที่ของตนเองปรับตัวลดลงจาก 265,891 ไร่
                  เป็น 263,904 ไร่ ลดลงร้อยละ 0.75  เนื้อที่ของผู้อื่นปรับตัวลดลงจาก 2,051,705 ไร่ เป็น 2,036,568 ไร่

                  ลดลงร้อยละ 0.74  โดยประชากรมีการถือครองที่ดินเฉลี่ย 8.02 ไร่ต่อคน และมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย
                  4.10 ไร่ต่อคน (ตารางที่ 2-9 และตารางที่ 2-10)

                              1.5)  ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด
                                  ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสระแก้ว(GPP) พ.ศ. 2563 มีมูลค่า 46,558 ล้านบาท
                  ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 ร้อยละ 3.49 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคน (GPP per capita)

                  71,924 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 ร้อยละ 1.86 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคนจังหวัด
                  สระแก้วยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มภาคตะวันออก ( 450,333 บาท) และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ
                  (224,962 บาท) เมื่อจำแนกตามสาขาการผลิตมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรของจังหวัดสระแก้ว
                  พ.ศ. 2563 มีมูลค่า 11,503 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.71 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

                  มีสัดส่วนลดลงจาก พ.ศ. 2562 ที่ร้อยละ 11.95 เนื่องจากภาคเกษตรมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์
                  มวลรวมที่ลดลง แต่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2559-2563 ร้อยละ 2.98 ขณะที่ผลิตภัณฑ์
                  มวลรวมนอกภาคเกษตร พ.ศ. 2563 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.07 จาก พ.ศ. 2562 คิดเป็นร้อยละ 75.29

                  ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2559-2563 ร้อยละ 3.79
                  (ตารางที่ 2-11 ถึง 2-14 และรูปที่ 2-12 และรูปที่ 2-13)






























                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46