Page 27 - Sa Kaeo
P. 27

2-15




                  2.5  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม

                        2.5.1 ด้านเศรษฐกิจและสังคม

                             สืบเนื่องจากการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้นำ
                  ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จำนวนมาก โดยที่ดินเป็นปัจจัยหลักในการผลิต และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
                  ของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและบริการ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ดินขึ้น 2 ประการ คือ (1) ปัญหา

                  การใช้ที่ดิน และ (2) ปัญหาการถือครองที่ดิน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                  ของจังหวัดสระแก้ว จำเป็นต้องกำหนดกฎเกณฑ์ โดยจัดทำแผนการใช้ที่ดินของจังหวัดสระแก้วขึ้น ซึ่ง
                  การจัดทำแผนการใช้ที่ดินจังหวัดดังกล่าวจะต้องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมมา

                  พิจารณาร่วมกับข้อมูลด้านอื่นๆ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                             1) ข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจและสังคม
                               1.1)  ประชากรและโครงสร้างประชากร

                                   ใน พ.ศ. 2564 จังหวัดสระแก้วมีประชากร 561,992 คน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                  จาก พ.ศ. 2555 ในอัตราร้อยละ 0.27 ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นลำดับที่ 6 จากทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่
                  ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี สระแก้ว และตราด จากการคาดประมาณประชากรของ

                  จังหวัดสระแก้วในอนาคตถึง พ.ศ. 2579 คาดว่าประชากรจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น 584,753 คน (ตารางที่ 2-3
                  และรูปที่ 2-5)
                                   ประชากรจำแนกรายอำเภอของจังหวัดสระแก้วพบว่าอำเภอวังน้ำเย็นมีความ
                  หนาแน่นของประชากรสูงที่สุด 178.43 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมา ได้แก่ อำเภอโคกสูง (124.45 คนต่อ

                  ตารางกิโลเมตร) และอำเภออรัญประเทศ (111.31 คนต่อตารางกิโลเมตร) เมื่อพิจารณาอัตราการ
                  เปลี่ยนแปลงประชากรตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึง 2564 อำเภออรัญประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากที่สุด
                  ด้วยอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.78 รองลงมา คือ อำเภอคลองหาด (ร้อยละ 0.58) และอำเภอตาพระยา
                  (ร้อยละ 0.50) ตามลำดับ อำเภอที่มีแนวโน้มการลดลงของประชากรมากที่สุด คือ อำเภอวังน้ำเย็น

                  มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 0.30 (ตารางที่ 2-4 และรูปที่ 2-6)
                               1.2)  โครงสร้างเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตร
                                   ในส่วนของครัวเรือนเกษตรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรภายในกลุ่มภาคตะวันออก
                  จำนวนครัวเรือนเกษตรมากที่สุด คือ จังหวัดสระแก้ว ตามมาด้วยจังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา

                  จังหวัดชลบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของ
                  ครัวเรือนเกษตรของจังหวัดสระแก้วอยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกันเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นในกลุ่มจังหวัดภาค
                  ตะวันออก มีการเพิ่มขึ้นอยู่ร้อยละ 5.46 สถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนในจังหวัดสระแก้วพบว่า
                  รายได้ต่อครัวเรือนของจังหวัดสระแก้วลดลงร้อยละ 4.33 แต่เมื่อพิจารณารายอำเภอพบว่า ส่วนใหญ่มี

                  แนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อำเภอวังสมบูรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.19 รองลงมาได้แก่ อำเภอ
                  คลองหาด (ร้อยละ 5.91) และอำเภออรัญประเทศ (ร้อยละ 4.86) ตามลำดับ รายได้ลดลงมากที่สุดที่
                  อำเภอตาพระยาลดลง ร้อยละ 71.07 รายจ่ายต่อครัวเรือนของจังหวัดสระแก้วมีแนวโน้มลดลงร้อยละ
                  1.75 แต่เมื่อพิจารณารายอำเภอ พบว่า รายจ่ายครัวเรือนส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุด

                  ที่อำเภอวังสมบูรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 186.07 รองลงมาได้แก่ อำเภออรัญประเทศ (ร้อยละ 28.25) และอำเภอ





                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32