Page 41 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 41

2-28




                  แต่โดยส่วนใหญ่เป็นหินอัคนี มีสภาพพื้นที่เป็นราบเรียบถึงเนินเขา ดินมีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี มี

                  สีน้ าตาลเข้มถึงน้ าตาลปนเทาเข้มมาก สีน้ าตาลปนแดงเข้มถึงน้ าตาลปนแดง สีแดงเข้ม หรือสีน้ าตาล
                  อ่อน อาจพบชั้นลูกรัง ก้อนกรวด เศษหิน ชั้นหินพื้นและชั้นหินผุ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็น
                  กลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปานกลาง โดยจ าแนกตามเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

                            1) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วน
                  เหนียวปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย ได้แก่ ชุดดินบ้านจ้อง (Bg) ชุดดิน
                  เชียงของ (Cg) ชุดดินแม่แตง (Mt) ชุดดินหนองมด (Nm) ชุดดินเชียงแสน (Ce) และชุดดินวังสะพุง (Ws)
                            2) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วน
                  หรือดินร่วนปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วน

                  ดินร่วนเหนียวปนทราย ได้แก่ ชุดดินแม่อิง (Mi) ชุดดินห้างฉัตร (Hd) ชุดดินแพร่ (Pae) ชุดดินเชียงใหม่
                  (Cm) ชุดดินสันป่าตอง (Sp) ชุดดินลาดหญ้า (Ly) ชุดดินภูสะนา (Ps) และตะกอนน้ าพาเชิงซ้อน (AC)
                  ที่มีการระบายน้ าดีปานกลาง                                                                                                                          2-28

                            3) กลุ่มดินตื้นหรือที่ดินหินพื้นโผล่ มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนปน
                  ดินทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหินปะปนอยู่มากกว่าร้อยละ 35 หรือ
                  พบชั้นหินพื้น ภายในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดิน ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวปนกรวดมาก ดินร่วน
                  เหนียวปนทรายปนกรวดมาก หรือหินพื้น ได้แก่ ชุดดินเชียงคาน (Ch) ชุดดินโป่งตอง (Po) ชุดดินลี้ (Li)

                  ชุดดินสบปราบ (So) ชุดดินสุรินทร์ (Su) ชุดดินท่าลี่ (Tl) ชุดดินแม่ริม (Mr) ชุดดินไพศาลี (Phi) และชุด
                  ดินท่ายาง (Ty)
                        1.3  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ได้แก่ บริเวณที่เป็นเทือกเขา หรือภูเขาที่มีลักษณะความสูงชัน
                  สลับซับซ้อนมาก และโดยเฉลี่ยความลาดชันของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป

                        1.4  พื้นที่เบ็ดเตล็ด ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่น้ า ที่ลุ่มชื้นแฉะ และที่ดินหินพื้นโผล่
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46