Page 122 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 122

4-10





                  รองรับแนวโน้มในอนาคตจังหวัดราชบุรีได้วางแนวทางตามแผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี เพื่อเตรียมพร้อม

                  ให้อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของจังหวัดราชบุรีในการก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่ส าคัญใน
                  ระดับประเทศและต่างประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั้งในด้านแรงงาน วัตถุดิบ เทคโนโลยี
                  มาตรฐาน วิจัยและพัฒนา และพัฒนาการผลิตด้านอุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การ

                  มุ่งเน้นการพัฒนาต่อจากการพัฒนาฐานความรู้เพื่อน ามา ต่อยอดในการพัฒนาภาคการผลิตและสินค้า
                  เน้นการผลิตสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปรับบทบาทจังหวัดราชบุรีให้เป็นตัวกลางในการ
                  บริหารจัดการระบบห่วงโซ่การผลิตในภาคตะวันตกให้เป็นที่ยอมรับในประเทศและอาเซียน โดยการ
                  พัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้าและบริหารจัดการการผลิตและจัดการเครือข่ายในประเทศ ยกระดับการ
                  ผลิตวัตถุดิบเพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการสร้างนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและภาพลักษณ์

                  ตราสินค้าราชบุรีให้เป็นที่ยอมรับในประเทศและอาเซียน

                  4.3  การวิเคราะห์พื้นที่โดยใช้ DPSIR

                        การวิเคราะห์เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี ได้วิเคราะห์เชิงระบบโดยใช้ระบบ DPSIR:

                  Drivers-Pressures-States-Impact-Responses (แรงขับเคลื่อน - ความกดดัน - สถานภาพทรัพยากร
                  - ผลกระทบ - การตอบสนอง)  ซึ่ง DPSIR ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในการวิเคราะห์ภาพรวมของผลกระทบ
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมีการใช้กันอย่าง

                  แพร่หลาย ทั้งนี้ กรอบแนวคิด DPSIR ของการก าหนดเขตการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี มีกรอบแนวคิดใน
                  การวิเคราะห์ คือ ปัจจัย (Drivers) ที่เป็นสาเหตุของปัญหาด้านทรัพยากรดิน และสิ่งแวดล้อม เป็นตัว

                  ขับเคลื่อนในการสร้างความกดดัน (Pressure) ต่อรัฐบาลหรือผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งทั้งปัจจัย (Drivers)
                  และความกดดัน (Pressure) ส่งผลให้ทราบถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ (State) ของทรัพยากรธรรม

                  ที่ดินและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบ (Impact) ในหลายๆ ด้าน ซึ่งผลกระทบในแต่ละด้าน
                  สามารถสะท้อนการตอบสนอง (Response) เชิงนโยบายหรือการบริหารการจัดการภาครัฐ เพื่อก าหนด

                  นโยบายหรือมาตรการในการตอบสนองการแก้ปัญหา เพื่อลดผลกระทบ ตลอดจนป้องกันปัญหาที่อาจ
                  เกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งแต่ละปัจจัยสามารถอธิบายรายละเอียดได้ ดังนี้
                        แรงขับเคลื่อน (D-Driver) เป็นสาเหตุของปัญหาหรือสถานการณ์ที่ก าลังวิเคราะห์ เป็นปัจจัยที่มี

                  พลังขับเคลื่อน สามารถส่งผลให้เกิดความกดดันต่อรัฐบาลหรือผู้รับผิดชอบโครงการได้ ตัวอย่างของแรง
                  ขับเคลื่อนด้านทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นโยบายรัฐด้านการเกษตร การเพิ่มขึ้นของประชากร

                  ปัญหาการถือครองที่ดิน นโยบายรัฐในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ การขยายตัวรองรับภาคเศรษฐกิจ
                  การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติธรรมชาติ ฯลฯ แรงขับเคลื่อน เป็นสิ่งที่สามารถวัดได้เป็นปริมาณ

                  ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจได้ ตัวอย่าง เช่น การเติบโตของประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ
                  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เป็นต้น

                        ความกดดัน (P-Pressure) คือ ผลที่ได้รับจากแรงขับเคลื่อน ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อรัฐบาลหรือ
                  ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งส่งผลให้ทราบถึงสถานภาพหรือสถานการณ์ปัจจุบันของทรัพยากรดิน และ
                  สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง เช่น ความต้องการที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ ความต้องการน้ าเพื่อการเกษตร
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127