Page 12 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 12

1-2






                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาดินเค็มส่วนหนึ่งเกิดมาจากการใช้ที่ดิน การปลูกพืช การสร้างอ่างเก็บน้ า

                  การตัดถนน การตัดไม้ท าลายป่า กิจกรรมเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ าใต้ดิน คือ ยกระดับน้ า
                  ใต้ดินสูงขึ้นท าให้ละลายเกลือซึ่งอยู่ตามธรรมชาติใต้ดินขึ้นมาบนผิวดินจึงท าให้เกิดปัญหาดินเค็ม ส่งผลให้
                  ไม่สามารถปลูกพืชได้ ในบางพื้นที่ปลูกพืชได้แต่ผลผลิตลดลง และรายได้ลดลง พื้นที่ดินเค็มใน

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเป็น 3 ระดับความเค็ม คือ ระดับความเค็มน้อย ระดับความเค็มปานกลาง
                  และระดับความเค็มมาก เนื่องจากพื้นที่ดินเค็มระดับน้อย เป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกพืชบางชนิดได้ และ
                  เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินได้เผยแพร่ความรู้และวิธีการในการจัดการพื้นที่ดินเค็ม ธรณีพิบัติภัย ได้แก่
                  ดินถล่ม แผ่นดินไหว หลุมยุบ และการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหาย
                  แก่ประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติ และเศรษฐกิจ ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะแผ่นดินถล่ม ซึ่ง

                  ร้อยละ 21 ของพื้นที่ประเทศไทย มีความเสี่ยงต่อดินถล่มในระดับสูง ดินถล่มเกิดจากสาเหตุตาม
                  ธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ โดยกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนเร่งให้เกิดมากขึ้น เช่น การตัดไม้ท าลายป่า
                  การปลูกพืชในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง การตั้งบ้านเรือนตามหุบเขาหรือตามทางน้ า การปลูกสร้าง

                  สิ่งก่อสร้างขวางทางน้ า เป็นต้น มูลค่าความเสียหายโดยรวมด้านทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน จาก
                  ปัญหาการพังทลายของหน้าดิน ปัญหาดินเค็ม และปัญหาดินถล่ม พบว่า มีมูลค่าความเสียหายเท่ากับ
                  7,477 ล้านบาทต่อปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 จนปัจจุบัน ก็ยังอ้างข้อมูลดังกล่าว ถึงแม้ว่าจากการสอบถาม
                  ผู้เชี่ยวชาญด้านดิน พบว่า กิจกรรมของมนุษย์มีส่วนท าให้ดินเค็มแพร่กระจาย เช่น การตัดไม้ท าลายป่า

                  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การสร้างแหล่งน้ า เป็นต้น ดังนั้น จึงเสนอให้มีการจัดท าข้อมูลดินเค็ม
                  ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันทั้งที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์หรือเกิดตามธรรมชาติ
                  ส าหรับกรณีการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการพังทลายของดิน ไม่ได้พิจารณาถึงปริมาณปุ๋ยที่ใส่เข้าไป
                  ในแต่ละปี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของดินในระยะยาวที่เกิดจากวิธีการทางเขตกรรม การสูญเสียหน้าดิน

                  ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการตื้นเขินของแหล่งน้ า และกรณีของภัยพิบัติดินถล่มเป็นเพียงความเสียหาย
                  ของทรัพย์สิน ยังไม่ได้ค านึงถึงความเสียหายที่เกิดต่อระบบนิเวศ

                  1.2  วัตถุประสงค์

                      1.2.1 เพื่อจัดท าฐานข้อมูลแผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
                      1.2.2  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรดิน โดยการส ารวจ จ าแนกดิน วิเคราะห์ดิน
                  และวางแผนการใช้ที่ดินให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
                      1.2.3 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม
                  ด้านการพัฒนาที่ดินส าหรับใช้ประโยชน์ ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

                      1.2.4 เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรดินและโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                      1.2.5 เพื่อส่งเสริมความสามารถของเกษตรกร เครือข่ายด้านการพัฒนาดิน และสถาบัน

                  เกษตรกร ในการยกระดับและเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร
                  1.3  ขอบเขตการด าเนินงาน

                      สถานที่ด าเนินงาน จังหวัดราชบุรี
                      ระยะเวลา เดือนตุลาคม 2563 ถึง เดือนกันยายน 2564
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17