Page 11 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดราชบุรี
P. 11

บทที่ 1

                                                         บทน า




                  1.1  หลักการและเหตุผล

                        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 72 (1) ได้มีการบัญญัติให้มีการ
                  วางแผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนา
                  อย่างยั่งยืน ต่อมาได้มีประกาศส านักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ เมื่อวันที่
                  6 เมษายน 2561 มีแผนการปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งก าหนดให้มีการจัดท า

                  แผนการใช้ที่ดินของชาติทั้งระบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และการพัฒนา
                  เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปรับปรุงแผนการใช้ที่ดินต าบลจ านวน 7,225 ต าบล ให้แล้วเสร็จ
                  ภายในปี 2565 ตลอดจนน าแผนการใช้ที่ดินต าบลไปสู่การปฏิบัติเพื่อเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และประกาศส านักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนปฏิรูปประเทศ
                        ทรัพยากรที่ดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส าคัญในการด ารงชีพของมนุษย์ ประเทศไทย
                  เป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งที่ดินเป็นปัจจัยหลักการเพิ่มขึ้นของประชากร ประกอบกับความต้องการใช้
                  ที่ดิน เพื่อใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขาอื่นก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เช่น การพัฒนาเมืองเขต
                  อุตสาหกรรม เป็นต้น ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ การน าพื้นที่เหมาะสมทาง

                  การเกษตรมาใช้ในการขยายเมือง การน าพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรมาใช้ในการเกษตร การใช้
                  ประโยชน์จากที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ท าให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งส่งผล
                  กระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกร ชุมชนและประเทศชาติ ปัญหาของทรัพยากรดิน และ

                  การใช้ที่ดิน ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินและปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัญหาความเสื่อมโทรม
                  ของดิน มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตัวอย่าง
                  ของปัญหา เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์ และปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติของดิน
                  ร่วมกับการกระท าของมนุษย์ เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ (พรุ) ดินทรายจัด และดินตื้น ปัญหา

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินทางด้านเกษตรกรรมของประเทศไทย ได้แก่ การชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                  พื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินมากที่สุด คือ ภาคเหนือ ดินขาดอินทรียวัตถุ ปัญหาดินขาด
                  อินทรียวัตถุอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม
                  ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนดินเค็ม ดินกรดและดินค่อนข้างเป็นทราย

                  อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การด าเนินการเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรดิน ให้เป็นปัจจัยพื้นฐาน
                  ของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการก าหนดแนวทางการอนุรักษ์ดินและน้ า การพัฒนาระบบข้อมูลดิน
                  การศึกษาวิจัยท าแปลงสาธิตในพื้นที่เกษตรและให้ความรู้ เผยแพร่แนวทางการจัดการทรัพยากรดินที่
                  เหมาะสม และถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรน าไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การด าเนินการตามมาตรการ

                  อนุรักษ์ดินและน้ าการฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินเพื่อการเกษตร มีการฟื้นฟูดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์
                  ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินขาดอินทรียวัตถุ และดินชะล้างพังทลาย การประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์
                  ของที่ดินนี้จะพิจารณาเฉพาะปัญหาส าคัญ ได้แก่ ปัญหาการชะล้างพังทลายที่ดิน ท าให้สูญเสียธาตุ

                  อาหารของพืช ปัญหาดินเค็ม และปัญหาดินถล่ม การประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์จากดินเค็ม
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16