Page 24 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 24

2- 10




                      2. การคมนาคมทางรถไฟ

                        การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวล าโพงไปยังจังหวัดพิษณุโลก
                  ทุกวัน มีทั้งรถธรรมดาและรถด่วนพิเศษ โดยมีสถานีรถไฟในจังหวัดจ านวน 12 สถานี ดังนี้

                          - สถานีพิษณุโลก       - สถานีพรหมพิราม     - สถานีหนองตม

                          - สถานีบึงพระ         - สถานีบ้านใหม่       - สถานีบางกระทุ่ม
                          - สถานีคลองมะแพลบ    - สถานีบ้านเต็งหนาม    - สถานีรถไฟแควน้อย
                          - สถานีรถไฟบ้านตูม     - สถานีรถไฟแม่เทียบ    - สถานีบ้านบุ่ง

                      3. การคมนาคมทางอากาศ
                        มีสนามบินท่าอากาศยานพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่ อ าเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ห่างจากตัวเมือง

                  3 กิโลเมตร เป็นสนามบินพาณิชย์ในความดูแลของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีท่าอากาศยาน
                  ที่เป็นสายการบินภายในประเทศ 4 สายการบิน คือ สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย เส้นทาง

                  ดอนเมือง – พิษณุโลก – ดอนเมือง ,สายการบินกานต์แอร์ เส้นทาง คือ เชียงใหม่ – พิษณุโลก – เชียงใหม่
                  และสายการบิน อาร์แอร์ไลน์ เส้นทาง หาดใหญ่ – พิษณุโลก – หาดใหญ่ (ส านักงานจังหวัดพิษณุโลก, 2560)


                  2.4.  สภาพภูมิประเทศ

                        จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง มียุทธศาสตร์ทางภูมิศาสตร์ในด้านที่ตั้ง ซึ่งมี

                  ลักษณะเด่นเฉพาะตัว เนื่องจากมีส่วนที่เชื่อมต่อกับภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
                  ประเทศ เป็นจังหวัดที่มีลักษณะเชื่อมต่อไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอินโดจีน ลักษณะภูมิประเทศของ

                  จังหวัดพิษณุโลก ตัวเมืองพิษณุโลกตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ าน่าน ทางด้านทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาสูงทอดตัว
                  ในแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ ได้แก่ เทือกเขาหลวงพระบางที่เป็นแนวพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับ

                  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่จังหวัดน่านจนถึงจังหวัดพิษณุโลกเชื่อมต่อกับเทือกเขา
                  เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ซึ่งอยู่ในเขตอ าเภอชาติตระการอ าเภอ
                  นครไทย อ าเภอวังทอง และอ าเภอเนินมะปราง สภาพพื้นที่ลาดเทลงจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก

                  ลงสู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด ทางตอนบนและตอนกลางเป็นที่ราบสูง มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดสลับกับ
                  ลูกคลื่นลอนชัน และที่ราบไม่กว้างมากนักบริเวณสองฝั่งของแม่น้ าแควน้อย และน้ าภาคได้แก่ ที่ราบอ าเภอ

                  นครไทย และที่ราบอ าเภอชาติตระการ พบภูเขาสูงบริเวณตอนกลาง ได้แก่ เขาช่องลม เขาอุโมงค์ เขาคันโช้ง
                  เขาสมอแครง และเขาฟ้า ทางตอนกลางและตอนล่าง ด้านทิศตะวันตกเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ คือ

                  บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ าน่านและแม่น้ ายม ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรที่ส าคัญของจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่
                  อ าเภอบางระก า อ าเภอบางกระทุ่ม อ าเภอเมืองพิษณุโลก อ าเภอพรหมพิรามและบางส่วนของอ าเภอวังทอง

                  อ าเภอเนินมะปราง
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29