Page 64 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 64

3-10





                                - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง

                  หรือดินร่วนปนดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนดินเหนียวดินร่วนเหนียวปนทราย
                  หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งได้แก่ ชุดดินฉลอง (Chl) ชุดดินฝั่งแดง (Fd) ชุดดินคอหงษ์ (Kh) ชุดดิน
                  ควนกาหลง(Kkl) ชุดดินคลองท่อม (Km) ชุดดินคลองนกกระทุง (Knk) ชุดดินล าแก่น (Lam) ชุดดินนา

                  ท่าม (Ntm) ชุดดินพะโต๊ะ (Pto) ชุดดินรือเสาะ (Ro) ชุดดินท่าแซะ (Te) ชุดดินทุ่งหว้า (Tg) และชุดดิน
                  ตาขุน (Tkn)
                                - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน ดินทราย ส่วน
                  ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน ได้แก่ ชุดดินบาเจาะ (Bc) ชุดดินบ้านทอน (Bh) ชุดดินหัวหิน
                  (Hh) และชุดดินไม้ขาว (Mik)

                                - กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินร่วนปน
                  ดินเหนียว ดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินเหนียว มีลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหินปะปนอยู่มากกว่า
                  ร้อยละ 35 หรือพบชั้นหินพื้นภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินห้วยยอด (Ho) ชุดดิน

                  คลองซาก (Kc)  และชุดดินคลองเต็ง (Klt)
                            3) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ได้แก่ บริเวณที่เป็นเทือกเขาหรือภูเขาที่มีความสูงชัน
                  สลับซับซ้อนมากและโดยเฉลี่ยความลาดชันของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
                            4) พื้นที่เบ็ดเตล็ด ได้แก่ เกาะ (ISLAND) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) และพื้นที่น้ า

                  (W)
                          2. ทรัพยากรดินที่มีปัญหาทางการเกษตร
                            จากการวิเคราะห์ทรัพยากรดินของจังหวัดพังงา พบดินที่มีปัญหาทางการเกษตรเนื้อที่
                  422,653 หรือร้อยละ 16.22 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่สุดในพื้นที่อ าเภอคุระบุรี รองลงมาเป็นอ าเภอ

                  ตะกั่วป่า และอ าเภอตะกั่วทุ่งตามล าดับ จ าแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ (ตารางที่ 3-4 และรูปที่ 3-4)
                            1) ดินเค็มชายทะเล เนื้อที่ 315,119 หรือร้อยละ 12.09 ของเนื้อที่จังหวัด พบบริเวณ
                  ที่มีสภาพพื้นที่ราบลุ่มน้ าทะเลท่วมถึง เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนน้ าทะเลหรือตะกอนน้ ากร่อย
                  เป็นดินเลนที่มีความเหนียวสูง ดินมีความชื้นและความเค็มสูง พืชพรรณที่ขึ้นในบริเวณนี้เป็น

                  ไม้ชายเลนซึ่งทนเค็มได้ดี เช่น แสม โกงกาง ล าพู เป็นต้น พบบริเวณชายฝั่งของทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่
                  พบมากที่สุดในพื้นที่อ าเภอคุระบุรี รองลงมาเป็นอ าเภอตะกั่วป่า อ าเภอเมืองพังงา และอ าเภอตะกั่วทุ่ง
                  ตามล าดับ

                            2) ดินทราย เนื้อที่ 80,012 หรือร้อยละ 3.07 ของเนื้อที่จังหวัด พบในพื้นที่ดอนบริเวณ
                  สันทรายทะเล หาดทราย หาดทรายเก่าหรือสันทรายเก่า เนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนเนื้อดิน
                  เหนียวมีน้อย เป็นดินที่ไม่มีโครงสร้างมีลักษณะเป็นเม็ดเดี่ยวๆ การเกาะตัวหรือยึดตัวของเม็ดดินต่ าท าให้
                  เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน มีการระบายน้ าดีเกินไป ท าให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ า
                  ความสามารถในการอุ้มน้ าและดูดซับธาตุอาหารต่ า ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                                - ดินทรายจัด เนื้อที่ 45,923 หรือร้อยละ 1.76 ของเนื้อที่จังหวัดพบบริเวณ
                  หาดทรายหรือสันทรายทะเล เนื้อดินเป็นดินทรายหนามาก มีการระบายน้ าด ีถึงค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่
                  พบมากที่สุดบริเวณชายหาดของพื้นที่อ าเภอตะกั่วป่า รองลงมาคืออ าเภอคุระบุรี อ าเภอท้ายเหมือง

                  ตามล าดับ
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69