Page 14 - เขตเกษตรกรรม
P. 14
2
1.3 เขตพื้นที่พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่ได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรป มีพื้นที่ 2,629,901 ไร่
หรือร้อยละ 0.82 ของพื้นที่ประเทศไทย พืชที่ผลิตสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้ รับรองการจดทะเบียน
จากสหภาพยุโรป เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษหรือมีลักษณะเฉพาะที่
เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น สภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ ของแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ
ตลอดจนทักษะความชำนาญและภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ สำหรับพืชที่ได้รับ
การประกาศขึ้นทะเบียนคุ้มครองสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทย จากสหภาพยุโรปมี 4 ชนิด คือ ข้าวหอมมะลิ
ทุ่งกุลาร้องไห้ (Khao Hom Mali Thung Kula Rong-Hai) กาแฟดอยตุง (Kafae Doi Tung) กาแฟดอยช้าง
(Kafae DoiChaang) และข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง (Sangyod Muang Phatthalung Rice)
(1) เขตพื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่ 1,973,196 ไร่ หรือร้อย
ละ 0.62 ของพื้นที่ประเทศไทย ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (Thung Kula Rong-Hai Thai Hom Mali Rice:
TKR) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง
คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์กข 15 มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ซึ่งปลูกในฤดูนาปี บริเวณพื้นที่ทุ่งกุลา
ร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และยโสธร การทำการผลิตการแปรรูปและบรรจุหีบห่อ
ต้องทำในพื้นที่เดียวกันเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนสมาชิกผู้ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และมีกระบวนการผลิต
ที่ได้ผ่านการควบคุมตรวจสอบ รวมทั้งต้องมีเอกสารกำกับเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับได้
(2) เขตพื้นที่กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าพื้นที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ 8,932 ไร่ ได้
ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กาแฟดอยตุง (Kafae Doi Tung) หมายถึง กาแฟอาราบิก้า ที่ได้จากผล
กาแฟสดที่ปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงบนเทือกเขานางนอน จังหวัดเชียงราย ที่ระดับ ความสูง 800-
1,200 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง และผลิตเป็นสารกาแฟ และกาแฟคั่วเม็ดบด บนพื้นที่โครงการพัฒนา
ดอยตุงด้วยกรรมวิธิของโครงการ
(3) เขตพื้นที่กาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าพื้นที่ดอยช้าง จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ 7,004 ไร่
ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กาแฟดอยช้าง (Kafae DoiChaang) หมายถึงกาแฟอาราบิก้า สายพันธุ์
หลัก คาทูรา คาติมอร์ และคาทุย ที่ได้จากผลกาแฟสดที่ปลูกที่หุบเขาดอยช้าง ที่ระดับความสูง 1,000-1,700
เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ในตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย นำมาผลิตด้วยกรรมวิธี
มาตรฐานเป็นกาแฟสารและกาแฟคั่วบดที่มีคุณภาพสูง
(4) เขตพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยด จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ 651,521 ไร่ หรือร้อยละ 0.20 ของ
พื้นที่ประเทศไทย ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง (Sangyod Muang Phatthalung
Rice) หมายถึงข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยด เป็นข้าวจ้าวพื้นเมืองพันธุ์เบา ข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง ปลูกฤดูนาปีใน
เขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง การทำการผลิตเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนสมาชิกผู้ผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และมี
กระบวนการผลิตที่ได้ผ่านการควบคุมตรวจสอบ รวมทั้งต้องมีเอกสารกำกับเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับได้
แนวทางการพัฒนา
- ต้องมีมาตรการในการรักษาคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมชั้นนี้ไว้ เพื่อคงให้เป็นพื้นที่เกษตร
ชั้นดีของประเทศไทยอย่างถาวรยั่งยืน
- รัฐควรส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถใช้ที่ดินทำการเกษตรให้เกิดประโยชน์
สูงสุดอย่างยั่งยืน