Page 13 - เขตเกษตรกรรม
P. 13
บทนำ
จากนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง
อุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการประมาณการผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดตาม
ช่วงฤดูกาลต่างๆ ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ กองนโยบายแล
แผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดทำ แผนการใช้ที่ดินของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการใช้
ที่ดินในภาพรวมของประเทศให้เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน ทั้งนี้ แผนการใช้ที่ดินประเทศไทย สามารถ
แสดงให้เห็นภาพรวมในการใช้ที่ดินของประเทศที่เหมาะสม เป็นกรอบแนวทางในการใช้ที่ดินให้มีประสิทธิภาพ
และยั่งยืน สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ-สังคม รวมทั้งการอนุรักษ์ จัดสรรทรัพยากรที่ดี และเกิดผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายการใช้ที่ดินและทรัพยากรที่ดินในภาพรวม
ของประเทศสู่ระดับจังหวัด และระดับตำบล ตามแผนการปฏิรูปประเทศได้ต่อไป
ประเทศไทยมีพื้นที่เขตเกษตรกรรม 153,184,527 ไร่ หรือร้อยละ 47.77 ของพื้นที่ประเทศไทยเพื่อ
รองรับเกษตรกรจำนวน 5.8 ล้านครัวเรือน รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้กับประเทศ และ
ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ทำให้คนไทยมีความมั่นคงด้านอาหาร และมีรายได้เข้าสู่ประเทศไทย โดย
สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆได้ ด้วยความมั่นคงและยั่งยืน จึงได้ใช้ปัจจัยด้านความเหมาะสมของที่ดิน
การพัฒนาระบบชลประทาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร ในการกำหนดเขตพื้นที่ความเหมาะสม
ออกเป็น 3 เขต ดังนี้
1. เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตดี มีพื้นที่ 42,647,558 ไร่ หรือร้อยละ 13.30 ของพื้นที่
ประเทศ ไทย เป็นเขตที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองไว้เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตร เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร
และผลิตสินค้าเกษตรที่ให้ผลตอบแทนสูง หรือรองรับอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยรัฐใช้ลงทุนสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรกรรม เช่น โครงการชลประทาน โครงการป้องกันน้ำท่วม หรือมีการจัดรูปที่ดิน
รวมถึงพื้นที่ผลิตพืชที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใด มาทดแทนการผลิตทาง
การเกษตร จากแหล่งผลิตของที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความพิเศษใน การให้ผลผลิตที่มีคุณภาพนี้ได้ แบ่ง
ออกเป็น 3 เขตย่อยดังนี้
1.1 เขตพื้นที่ทำนา มีพื้นที่ 22,327,130 ไร่ หรือร้อยละ 6.96 ของพื้นที่ประเทศไทย เป็นเขต
ที่สภาพพื้นที่ราบเรียบเป็นที่ลุ่ม มีการสร้างระบบชลประทาน หรือมีการจัดรูปที่ดิน ทำให้สามารถทำนาได้ผล
ผลิตสูง พื้นที่ส่วนใหญ่สามารถทำนาได้มากกว่าหนึ่งครั้งในรอบปี ส่วนใหญ่ทำการผลิตข้าวเพื่อการค้าและ
ส่งออกเป็นหลัก มาตรการสำคัญในพื้นที่นี้ควรส่งเสริมให้มีการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต เพื่อผลิตในเชิงการค้า
1.2 เขตพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น มีพื้นที่ 17,690,527 ไร่ หรือร้อยละ 5.52 ของพื้นที่
ประเทศไทย เป็นเขตที่มีระบบชลประทาน หรือมีการพัฒนาที่ดินที่สามารถทำการผลิตพืชไร่ ไม้ผลได้ผลผลิตดี
สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน การระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง ส่วนใหญ่มีการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อ
อุตสาหกรรมแปรรูป และผลิตเพื่อการส่งออก มาตรการสำคัญในพื้นที่นี้ควรส่งเสริมให้มีการลดต้นทุนและเพิ่ม
ผลผลิตเพื่อผลิตในเชิงการค้า