Page 57 - Land Use Plan of Thailand
P. 57

2-29





                               ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ า พ.ศ.2558-2569 มีความสอดคล้อง

                  เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับประเด็นที่ส าคัญของนโยบายที่ดินและทรัพยากรดิน ดังนี้
                               ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการน้ าอุปโภคบริโภค : เกี่ยวข้องในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ าใน
                  การเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการด ารงชีพของประชาชน

                               ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ าภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม) :
                  เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงในประเด็นเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนและสนับสนุนความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ
                  โดยรวมของประเทศ รวมทั้งการลดความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดแคลนน้ า
                               ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการน้ าท่วมและอุทกภัย : เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงในประเด็นเรื่อง
                  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ า เปลี่ยนเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและท าการเกษตร ท าให้

                  การเกิดน้ าหลาก ดินถล่ม น้ าท่วมฉับพลัน เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรง การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม
                               ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ า : เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงในประเด็นเรื่องการแก้ปัญหา
                  คุณภาพน้ า และลดผลกระทบของระบบนิเวศในน้ า

                               ยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ าที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลาย
                  ของดิน : เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงในประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ป่า
                  การเก็บรักษาความชุ่มชื้น การดูดซับน้ า การชะลอการไหลของน้ า ที่เป็นแหล่งระบบนิเวศที่ส าคัญของพื้นที่
                  ต้นน้ า การชะล้างพังทลายของดินตามธรรมชาติ

                               ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการ : เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงในประเด็นเรื่องการบริหาร
                  จัดการให้มีความเป็นเอกภาพทั้งในระดันโยบายและระดับปฏิบัติ
                        2.3.5  แผนยุทธศาสตร์ข้าวไทย 5 ปี (2560-2564)
                               แบ่งออกเป็น 8 ด้านดังนี้

                               1)  ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชาวนาและองค์กรชาวนา
                                   การสร้างความเข้ม แข็งให้แก่ชาวนาและองค์กรชาวนา ยกระดับ ความสามารถใน
                  การผลิตข้าวให้ ชาวนาสามารถพึ่งพาตนเองได้ไม่น้อยกว่า 80% และสนับสนุนการสร้าง ศูนย์กลาง
                  ชาวนาในระดับท้องถิ่น

                               2)  ยุทธศาสตร์การควบคุมพื้นที่เพาะปลูกและปริมาณผลผลิตข้าวให้เหมาะสม
                                   การควบคุมพื้นที่เพาะปลูกและปริมาณผลผลิตข้าวให้เหมาะสม โดยปรับเปลี่ยนการ
                  ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม จัดระบบการปลูกข้าวแบบมีส่วนร่วมในเขตชลประทาน และควบคุม

                  ปริมาณข้าวเปลือกแต่ละปีที่ออกมาให้สูงกว่าความต้องการของผู้บริโภคไม่เกิน10%
                               3)  ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว
                                   การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยพ.ศ. 2564 ผลผลิตต่อไร่ของข้าวทุกพันธุ์
                  ต้องไม่ต่ ากว่า 516 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตต่อไร่ไม่เกินไร่ละ 3,600 บาท และต้นทุนการผลิตต่อ
                  ตันไม่เกินตันละ 7,000 บาท

                               4)  ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการผลิตและมาตรฐานสินค้าข้าว
                                   การยกระดับคุณภาพการผลิตและมาตรฐานสินค้าข้าว โดยปริมาณข้าวเปลือกที่มี
                  คุณภาพและปลอดภัยจากแปลงข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจีเอ็มพี ไม่น้อยกว่า 10 ล้านตัน ข้าวสาร

                  ที่วางจ าหน่ายในท้องตลาดต้องมีมาตรฐานการค้า และมาตรฐานความปลอดภัยจีเอ็มพี ไม่น้อยกว่า
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62