Page 145 - Land Use Plan of Thailand
P. 145

5-1





                                                         บทที่ 5


                                            สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

                       สืบเนื่องจากการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศในช่วงหกทศวรรษที่ผ่านมา ได้น า

                  ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้จ านวนมากโดยเฉพาะที่ดินที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิต และการขยายตัวทาง
                  เศรษฐกิจของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและบริการ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ดินขึ้น 2
                  ประการคือ (1) ปัญหาการใช้ที่ดิน และ (2) ปัญหาการถือครองที่ดิน

                       ปัญหาการใช้ที่ดินที่ส าคัญ คือ ความเสื่อมโทรมของดิน การใช้ที่ดินที่ไม่ตรงกับความเหมาะสม
                  ของที่ดิน การชะล้างพังทลายของดินมีเนื้อที่มากถึง 108 ล้านไร่

                       ปัญหาการถือครองที่ดิน คือ (1) การไร้กรรมสิทธิ์ที่ประชาชนเข้าท ากินในที่ดินของรัฐมากถึง

                  413,632 ราย (2) การไร้ที่ดินท ากินจ านวน 400,422 ราย และ (3) การเช่าที่ดินซึ่งมีมากถึง 29 ล้านไร่

                       ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐกับ
                  ภาคเอกชน และระหว่างภาคเอกชนด้วยกัน สถานการณ์เช่นนี้คาดว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นใน
                  อนาคต จะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม จ าเป็นจะต้องก าหนดกฎเกณฑ์
                  โดยจัดท าแผนการใช้ที่ดินของชาติขึ้น แต่การจัดท าแผนการใช้ที่ดินดังกล่าวจะต้องวิเคราะห์การ

                  เปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลด้านอื่นๆ ในบทนี้จึงมี
                  สาระส าคัญรวม 3 เรื่องคือ 1) ที่ดินกับประชากร 2) โครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตรของไทย
                  3) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

                  5.1  ที่ดินกับประชากร


                       ใน พ.ศ. 2560 มีประชากรทั้งหมด 66,188,503 คน เฉลี่ยการถือครองที่ดินคนละ 4.85 ไร่ เฉลี่ย
                  เฉพาะที่เหมาะสมต่อการเกษตรคนละ 2.55 ไร่  ดังรายละเอียดในตารางที่ 5-1
                       อย่างไรก็ตามจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ในอนาคตถึง พ.ศ. 2583 ของ
                  ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2556:16) พบว่าประชากรจะมีจ านวน

                  63.864 ล้านคน ซึ่งเท่ากับประชากรใน พ.ศ. 2553 (กรมการปกครอง, 2554:1) และจากการฉายภาพ
                  ประชากรไทยของปัทมา ว่าพัฒนวงค์ และปราโมทย์ ประสาทกุล (มปป.:4) พบว่าใน พ.ศ. 2578
                  จะมีประชากรจ านวน 63.40 ล้านคน จากการคาดประมาณและฉายภาพจากทั้งสองสถาบัน จะมี
                  ข้อสังเกตว่า ประชากรไทยจะลดลงจาก พ.ศ. 2559 ซึ่งมีจ านวน 65.930 ล้านคน และจะมีจ านวน

                  ใกล้เคียงกับประชากรใน พ.ศ.2551 (กรมการปกครอง, 2552: 1) โดยลดลงประมาณ 2.50 ล้านคน
                       ในส่วนประชากรเกษตรนั้นก็เป็นไปในท านองเดียวกันจากการศึกษาของส านักงานเศรษฐกิจ
                  การเกษตร (2552:34) พบว่าประชากรเกษตรลดลงจาก 26.353 ล้านคน ใน พ.ศ. 2541/2542 ลงมา
                  เหลือ 22.724 ล้านคน ใน พ.ศ. 2549/2550

                       การลดลงของประชากรไทยและประชากรเกษตรดังกล่าวนี้ อาจจะลดแรงกดดันต่อความต้องการ
                  ที่ดินท ากินในอนาคตได้บ้าง แต่ประเด็นที่ส าคัญคือ การแก้ปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งผู้ไร้ที่ดิน
                  ท ากิน ผู้ไร้กรรมสิทธิ์ และผู้ที่เช่าที่ดินท ากิน โดยมีข้อมูลดังกล่าวไม่ชัดเจนว่ามีจ านวนมากน้อยเพียงใด
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150