Page 13 - Executive Summary
P. 13

1





                                                           บทน ำ


                     1.  หลักกำรและเหตุผล

                            การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น ที่ดินได้มีบทบาทที่

                     ส าคัญในการเป็นปัจจัยการผลิต ทั้งเพื่อการเกษตรและสาขาการพัฒนาอื่นๆ ทั้งอุตสาหกรรม

                     อสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการ ความต้องการที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นอย่าง
                     รวดเร็ว ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาที่ดินขึ้น ทั้งการใช้ที่ดิน

                     และการถือครองที่ดิน ปัญหาการใช้ที่ดินนั้นเกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินที่ไม่เป็นไปตามความเหมาะสม
                     ของดิน มีการท าการเกษตรบนพื้นที่สูงขึ้น ซึ่งควรเป็นพื้นที่ป่าไม้ ท าให้เกิดการชะล้างพังทลายของ

                     ดินและดินถล่ม ปัญหาการถือครองที่ดินนั้นมีทั้งปัญหาการไร้กรรมสิทธิ์ การไร้ที่ดินท ากิน การเช่า
                     ที่ดิน ผลรวมจากปัญหาที่ดินดังกล่าวท าให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของ

                     รัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกัน สถานการณ์เช่นนี้คาดว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

                     เพราะที่ดินของชาติมีจ ากัดแต่ความต้องการเพื่อกิจกรรมต่างๆ ยังคงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
                            ตามหลักการแล้วการใช้ที่ดินของประเทศนั้นต้องยึดหลักการให้มีทั้งพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่

                     เพื่อการพัฒนาที่เป็นสัดส่วนอันเหมาะสม โดยการจัดท าเป็น “แผนการใช้ที่ดินของชาติ”

                            ถึงแม้ว่าจะได้มีแนวคิดเรื่องการวางแผนการใช้ที่ดินมาก่อนที่จะมีแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ
                     และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) ในแนวทางต่างๆ ซึ่งรวมถึงการจ าแนกประเภท

                     ที่ดินเพื่อเป็นพื้นที่ป่าไม้และที่ดินท ากิน การก าหนดเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขต
                     ป่าสงวนแห่งชาติ เขตเศรษฐกิจการเกษตร ผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ ตลอดจนแผนการใช้ที่ดินของ

                     กรมพัฒนาที่ดินก็ตาม แต่มิได้มีแนวทางใดที่ครอบคลุมการใช้ที่ดินทุกประเภททั่วทั้งประเทศและทุก
                     หน่วยงานยอมรับตลอดจนน าไปใช้อย่างจริงจัง ทั้งนี้เป็นเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร

                     ที่ดินมีจ านวนมากแต่ละหน่วยงานต่างก็มุ่งเน้นปฏิบัติภาระกิจตามที่มาแห่งอ านาจของหน่วยงาน

                     นั้นๆ ถึงแม้จะมีการประสานงานกันอยู่บ้างก็ตาม “แต่การขาดหลักเกณฑ์หรือแผนแม่บทที่ทุก
                     หน่วยงานต้องใช้ร่วมกัน การปฏิบัติในแต่ละลักษณะงานจึงไม่สามารถจะด าเนินไปให้สอดคล้องกันได้

                     ปัญหาการใช้ที่ดินและการถือครองที่ดินจึงทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น”

                            จากสถานการณ์ดังกล่าวแล้วจึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “แผนกำรใช้ที่ดินของชำติ”
                     ในลักษณะแผนแม่บทที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารที่ดินยืดถือเป็นกฎเกณฑ์ในการ

                     ปฏิบัติงาน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18