Page 29 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 29

2-17





                             ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากพันธุ์ข้าวไม่ไว

                  ต่อช่วงแสงโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่มีอมิโลสต่ำและข้าวขัดขาว กข43 มีค่าการแตกตัวเป็น
                  น้ำตาลน้อย และมีค่าดัชนีน้ำตาลระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ คาร์โบไฮเดรตของข้าวมีลักษณะทนต่อการย่อย
                  ดีกว่าข้าวอมิโลสต่ำพันธุ์อื่น จึงถือเป็นข้าวทางเลือกของผู้ใส่ใจสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคไตและโรคเบาหวาน

                  ที่มีภาวะอาการไตเรื้อรัง ที่ต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและยังเหมาะ
                  กับกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำแต่ไม่ต้องการรับประทานข้าวกล้อง
                  จากคุณประโยชน์ดังกล่าวทำให้ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างมาก เพราะผู้บริโภคให้
                  ความสนใจอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้นหรือที่เรียกว่ารับประทานอาหารเป็นโอสถ การวางแผนการผลิต
                  ข้าวพันธุ์ กข43 เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของนาแปลงใหญ่หรือโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบ

                  แปลงใหญ่ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรได้รวมกลุ่มกันผลิตและ
                  ยกระดับให้เป็นสินค้าตลาดเฉพาะของกลุ่มคนรักสุขภาพ การผลิตข้าวเพื่อสุขภาพ กข43 ให้มีคุณภาพ
                  ต้องมีการควบคุมการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกจนกระทั่งแปรรูป

                             ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้นโยบายมาตรการโครงการเพื่อบริหารจัดการข้าวหลายอย่าง
                  เน้นประชานิยมเป็นหลัก ได้แก่ การรับจำนำข้าวเปลือก การแทรกแซงราคาข้าวเปลือก การชดเชย
                  ดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก และการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
                  จนทำให้มีข้าวสารคงคลังของรัฐบาลเป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถระบายข้าวออกสู่ตลาดได้ทัน

                  ส่งผลให้ราคารับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในปีถัดมาตกต่ำลงอย่างมาก ขาดเสถียรภาพ ทำให้การผลิต
                  และการตลาดข้าวของประเทศไทยยังคงมีปัญหาสำคัญ ๆ อยู่ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอุปสงค์ อุปทาน
                  2) ด้านความเป็นธรรม 3) ด้านมาตรฐาน 4) ด้านข้อมูลข่าวสาร 5) ด้านการจัดการ และ 6) ด้านนวัตกรรม
                             จนกระทั่งในปี 2559 คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ (นบข.)

                  ได้มอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                  กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง บูรณาการร่วมกับผู้ประกอบการค้าข้าวภาคเอกชนทั้งผู้ส่งออก
                  ข้าวไปต่างประเทศ ผู้แทนโรงสีข้าว ผู้ประกอบการค้าข้าวถุง ผู้ค้าข้าว (หยง) ตลอดจนภาคเกษตรกร
                  ที่เป็นผู้แทนสมาคมชาวนาต่าง ๆ ร่วมกันจัดทำแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปี 2559/60

                                          ื่
                  เป็นครั้งแรก มีวัตถุประสงค์เพอบริหารและจัดการสินค้าข้าวอย่างครบวงจร โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต
                  วางแผนการผลิตให้เกิดความสมดุลกับความต้องการตลาด เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต และ
                  รักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เป็นแผนการดำเนินงานเริ่ม

                  ตั้งแต่การผลิตข้าว การสีแปรสภาพ จนถึงการตลาดข้าวทั้งภายในและต่างประเทศ หรือตั้งแต่ต้นน้ำ
                  กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาข้าวอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่อุปทานข้าว โดยแบ่ง
                  การดำเนินการเป็น 5 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วงกำหนดอุปสงค์และอุปทาน 2) ช่วงการผลิต 3) ช่วงการเก็บเกี่ยว
                  และหลังเก็บเกี่ยว 4) ช่วงการตลาดในประเทศ และ 5) ช่วงการตลาดต่างประเทศ
                             โดยแผนงานแต่ละช่วงประกอบด้วยโครงการ มาตรการต่าง ๆ ดังนี้

                                1. ช่วงการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน ได้แก่ การกำหนดความต้องการทางการตลาด
                                                                                    ื้
                  (Demand) และปริมาณการผลิต (Supply) การวางแผนการผลิตข้าว โดยประกาศพนที่ส่งเสริมการปลูกข้าว
                  ปีละ 2 ครั้ง รอบที่ 1 นาปี (1 พฤษภาคม-31 ตุลาคม) และรอบที่ 2 นาปรัง (1 พฤศจิกายน-30 เมษายน)
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34