Page 28 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 28

2-16





                  2.6  สภาวการณ์การผลิตและการตลาด

                        2.6.1 การผลิต
                             ข้าวไทยเป็นที่นิยมในตลาดโลกและสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี

                  แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ข้าวไทยกำลังเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศ
                  ผู้ส่งออกข้าวรายใหม่ที่สามารถผลิตข้าวด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทย นอกจากนี้การควบคุม
                  ราคาข้าวไม่สามารถควบคุมได้โดยง่ายเพราะต้องเป็นไปตามกลไกการตลาด ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มขีด
                  ความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก ข้าวไทยจึงต้องปรับกระบวนการผลิตและการตลาดอย่างครบวงจร

                  เพื่อแก้ไขปัญหาข้าวในระยะยาว ข้าวไทยไม่ได้เป็นเพียงอาหารจานหลักบนโต๊ะอาหารเท่านั้น
                  เมื่อผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ข้าวไทยจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบ
                                                                       ู้
                  ไม่ว่าจะเป็นอาหารเฉพาะ (Functional Food) ผลิตภัณฑ์ซุปเปอร์ฟด (Super Food) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
                  หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องสำอางเวชภัณฑ์ หรือ วัสดุทางการแพทย์ เป็นต้น

                             ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับประเด็นท้าทายในเรื่องของความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน
                  ภาคการเกษตรไทยยังเป็นทวิลักษณ์ระหว่างเกษตรดั้งเดิมและเกษตรสมัยใหม่ เทคโนโลยีการผลิตและ
                  การบริหารจัดการเป็นหัวใจของการปรับเปลี่ยนเกษตรกรไทย จากที่เคยทำมากได้น้อยไปสู่ทำน้อยได้มาก
                  ซึ่งข้าวถือเป็นตัวอย่างที่ดี ต่อจากนี้ไปข้าวจะไม่ถูกนำมาใช้สำหรับกินเพื่ออิ่มหรือเพื่อส่งออกไปยัง

                  ประเทศที่ยากจนเพียงเท่านั้น แต่ต้องเป็นข้าวที่กินเพื่ออร่อยและพัฒนาไปขั้น “กินเพื่อสุขภาพ”
                  ตอบสนองตลาดสังคมเมืองยุคใหม่ ดังนั้น กระบวนการผลิตข้าวต้องปรับเปลี่ยนจากการผลิตข้าวเชิงปริมาณ
                                               ิ่
                  มาสู่การผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพและเพมคุณค่าทดแทน
                             การสร้างคุณค่าและคุณประโยชน์จากข้าว คือ ความสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของการพัฒนา
                  ประเทศด้านอาหาร ซึ่งมีความเชื่อมโยงทั้งภาคสังคม วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และ
                  อีกหลายภาคส่วน ตามกรอบนโยบายหลักของประเทศที่ได้กำหนดแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
                  ไว้เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของชาติ
                             การสร้างคุณค่าข้าวครบวงจรเป็นความท้าทายที่ทั้งภาครัฐและเอกชนควรร่วมกันศึกษา

                  และสร้างสรรค์เชื่อมต่อระบบการจัดการเชิงคุณภาพและคุณค่า ตั้งแต่การปลูก การวิจัย การแปรรูป
                  รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อมุ่งรักษาและสร้างคุณค่าที่เป็นประโยชน์
                  อย่างแท้จริง ตลอดห่วงโซ่คุณภาพของข้าวไทย

                                                      ั
                             โดยทั่วไปปัจจัยในการเลือกใช้พนธุ์ข้าวของประเทศไทยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การคัดเลือก
                  และการปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความทนทานต่อโรคและแมลง โดยพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก
                  ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดีและให้ผลผลิตสูง ซึ่งพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
                  เลือกพันธุ์ข้าว ในขณะที่ข้อจำกัดด้านสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีอทธิพลน้อยที่สุด อนึ่ง ความต้องการ
                                                                         ิ
                  ปริมาณข้าวทั้งเพื่อบริโภคในประเทศและเพื่อส่งออกสูงขึ้น เนื่องจากประชากรของโลกเพิ่มขึ้น
                  ขณะที่ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้ในหลายนิเวศน์ ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง เป็นข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง
                  และพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการตลาดได้ ประกอบกับข้าวไทย
                                                                                     ั
                  เป็นที่ยอมรับในคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากคณภาพแล้วยังมีการปรับปรุงพนธุ์ข้าวให้มีคุณสมบัติ
                                                             ุ
                  ลดภาวะเสี่ยงของบางโรคได้ เช่น ข้าวพันธุ์ กข43 ที่เป็นพันธุ์ที่มีอมิโลสต่ำ เป็นต้น
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33