Page 15 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 15

2-3






                        2.1.5 ภาคใต้

                            ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส
                  ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ 44,196,992 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 13.78 ของเนื้อที่ประเทศ จังหวัดที่ใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดที่เล็กที่สุด คือ

                  จังหวัดภูเก็ต ทุกจังหวัดของภาคมีอาณาเขตติดต่อกับทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา
                            ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างเขาหรือที่ราบชายฝั่งทะเล มีทะเล
                                                         ่
                                                                                                    ื้
                                                                                       ั
                  ขนาบทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งทะเลตะวันออกติดอาวไทยและฝั่งทะเลตะวันตกติดทะเลอนดามัน สภาพพนที่
                  เป็นที่ราบ มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางน้อยกว่า 13 เมตร พื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของภาคสูงกว่า
                  ทางฝั่งตะวันออก มีเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรีอยู่ด้านฝั่งทะเลตะวันตกทอดในแนว
                  เหนือ-ใต้ขนานกับฝั่งทะเล กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับเมียนมา เทือกเขาภูเก็ตทอดยาวต่อจาก
                  เทือกเขาตะนาวศรีเรื่อยไปจนถึงเกาะภูเก็ต ทางตอนกลางของภาคมีเทือกเขานครศรีธรรมราชทอดในแนว
                  เหนือ-ใต้ ทางด้านใต้ของภาคมีเทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับ

                  มาเลเซีย ฝั่งทะเลทั้งสองด้านนี้มีเกาะจำนวนมากโดยฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีเกาะที่สำคัญ ๆ ได้แก่
                  เกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า เป็นต้น ส่วนทางฝั่งทะเลด้านตะวันตก มีเกาะภูเก็ตซึ่งนับว่าสำคัญ
                  และใหญ่ที่สุดของประเทศ เกาะตะรุเตา เกาะลันตา และเกาะลิบง เป็นต้น


                  2.2  สภาพภูมิอากาศ

                        2.2.1 ลมมรสุม
                            ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และ

                  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
                            1) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่าง
                  กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้
                  บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้

                  เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก
                  และฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่า
                  บริเวณอื่น

                            2) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว
                  ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึงกลางเดือน
                  กุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลีย
                  และจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟาโปร่ง
                                                                                                  ้
                  อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมี

                  ฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
                  การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20