Page 192 - rubber
P. 192

ผก-4





                  ภาคผนวกที่  ก-4  แนวทางในการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิต


                  1. พันธุ์ยาง

                        พันธุ์ยางที่แนะน าตามค าแนะน าของกรมวิชาการเกษตร มี 3 กลุ่ม ขอแนะน าพันธุ์ยาง ชั้น 1

                  ในแต่ละกลุ่มที่ให้ผลผลิตและความต้านทานโรคในพื้นที่ปลูกยางใหม่แตกต่างกัน ดังนี้
                        1.1  กลุ่มที่ 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ ายางสูง
                            ได้แก่ พันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 251 สถาบันวิจัยยาง 226 บีพีเอ็ม 24 อาร์อาร์ไอเอ็ม 600

                            สถาบันวิจัยยาง 251
                            - ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

                            - การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
                            - ควรใช้ระบบกรีดครึ่งล าต้น วันเว้นวัน

                            - ต้านทานโรคเส้นด า โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และ

                  โรคราสีชมพูปานกลาง อ่อนแอต่อโรคราแป้ง มีต้นเปลือกแห้งจ านวนน้อย ต้านทานลมปานกลาง
                            - ไม่แนะน าให้ปลูกในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้นและพื้นที่ที่มีระดับน้ าใต้ดินสูง

                            บีพีเอ็ม 24
                            - ผลผลิตเฉลี่ย 258 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

                            - การเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมหนามาก เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
                            - ควรใช้ระบบกรีดครึ่งล าต้น วันเว้นวัน หากใช้ระบบกรีดถี่จะท าให้ต้นยางแสดงอาการ

                  เปลือกแห้งมากขึ้น

                            - ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราดีและโรคเส้นด าดี ต้านทานโรคราแป้ง
                  โรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพูปานกลาง มีต้นเปลือกแห้งจ านวนปานกลาง ต้านทานลมปานกลาง

                            - ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มีระดับน้ าใต้ดินสูง และพื้นที่ที่มีความชื้นสูง

                            - ข้อสังเกต : ในระยะยางอ่อนแตกกิ่งเล็ก ๆ จ านวนมาก ล าต้นและกิ่งมีรอยแผลน้ ายางไหล
                  ซึ่งจะหายไปในระยะต่อมา

                            สถาบันวิจัยยาง 226
                            - ผลผลิตเฉลี่ย 284 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

                            - การเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดและระยะระหว่างกรีดปานกลาง ความสม่ าเสมอของ
                  ขนาดล าต้นทั้งแปลงปานกลาง

                            - ควรใช้ระยะกรีดครึ่งล าต้น วันเว้นวัน

                            - ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นด าดี ต้านทานโรคใบจุดและ
                  ราสีชมพูปานกลางและอ่อนแอต่อโรคราแป้ง








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยางพารา                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197