Page 27 - rambutan
P. 27

2-5





                  ตามล าดับ จนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะพาดผ่านบริเวณสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้

                  ท าให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง เรียกช่วงนี้ว่า “ฝนทิ้งช่วง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1-2 สัปดาห์

                  หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมร่องความกดอากาศต่ าเลื่อน
                  กลับลงมาจากทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนพาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้งท าให้มีฝนตกชุก

                  ต่อเนื่องและปริมาณฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป

                              จนกระทั่งประมาณกลางเดือนตุลาคมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุม

                  ประเทศไทยแทนที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ท าให้ตอนบนของประเทศไทยจะเริ่มมีอากาศเย็นและ
                  ฝนลดลงโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยกเว้นภาคใต้ที่ยังคงมีฝนตกชุกต่อไปจนถึง

                  เดือนธันวาคมและมักมีฝนตกหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่ง

                  จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตกอย่างไรก็ตามการเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่าก าหนดได้

                  ประมาณ 1-2 สัปดาห์
                            3)  ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุม

                  ตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนาน

                  1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็น
                  หรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไป ซึ่งจะหมดฝน

                  และเริ่มมีอากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                        2.2.3  ปริมาณน ้าฝน
                            ปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาค (ช่วง 2530–2559) เป็นดังนี้ ภาคเหนือ

                  1,208.56 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,419.11 มิลลิเมตร ภาคกลาง 1,224.37 มิลลิเมตร

                  ภาคตะวันออก 1,837.07 มิลลิเมตร และภาคใต้ 2,224.49 มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่

                  เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศ นอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล บริเวณประเทศไทย
                  ตอนบน ปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อม

                  ทั้งมีพายุฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมากโดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือน

                  สิงหาคมหรือกันยายนพื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลมมรสุม
                  ตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศบริเวณอ าเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

                  และภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด โดยเฉพาะที่อ าเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณ

                  ฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,886.3 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่พื้นที่

                  ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดล าพูน ล าปาง และแพร่ พื้นที่ด้านตะวันตกของภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดนครราชสีมาและภาคกลาง ส าหรับภาคใต้มีฝน

                  ตกชุกเกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุม
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32