Page 17 - rambutan
P. 17

บทที่ 1

                                                         บทน ำ




                  1.1  หลักกำรและเหตุผล


                      ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรส่งผลให้ภูมิอากาศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น
                  หรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็น

                  เขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส อากาศจะ

                  ร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้นภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และ
                  ตะวันออกเฉียงเหนือท าให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามล าดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับ

                  ปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความ

                  แตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง จากลักษณะดังกล่าวข้างต้นประเทศไทยจึงมีความ
                  เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลเขตร้อนเป็นอย่างยิ่ง

                      เงาะจัดเป็นไม้ผลเขตร้อนที่สามารถเจริญเติบโตในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และมีผู้นิยม

                  บริโภคค่อนข้างสูง โดยพันธุ์โรงเรียน เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นอกจากนั้นยังมีพันธุ์อื่น
                  ๆ อีก เช่น สีทอง สีชมพู เป็นต้น เนื่องจากมีรสชาติหวานอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมี

                  ประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น สามารถแก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรงได้ผลดี นอกจากนี้ผลเงาะน ามา

                  ต้ม และน าน ้าที่ได้มาเป็นยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก เป็นต้น

                      ภาคตะวันออกและภาคใต้เป็นแหล่งปลูกเงาะที่ส าคัญของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันเริ่มเริ่มมี
                  การปลูกกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคอื่น ๆ แต่ต้องมีการบริหารจัดการน ้าให้เพียงพอ โดยในปี 2559

                  จากข้อมูลของกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกเงาะ

                  ทั้งสิ้นประมาณ 429,000 ไร่ พื้นที่ปลูกที่ส าคัญอยู่ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ จากการศึกษาพบว่าพื้นที่
                  ปลูกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้มีผลผลิตลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้สืบเรื่องมาจากราคาตกต ่า ขาดแคลน

                  แรงงานในการดูแลจัดการสวนรวมถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ลักษณะของสวนเงาะมีทั้งที่ปลูกในลักษณะ

                  สวนเดี่ยว และสวนผสมซึ่งมีตั้งแต่ผสมสองชนิด หรือมากกว่าสองชนิด โดยพืชที่ปลูกผสมส่วนใหญ่

                  จะเป็นไม้ผลเขตร้อน เช่น มังคุด ทุเรียน ลองกอง เป็นต้น
                      ทางด้านการตลาดของเงาะพบว่า ผลผลิตเงาะจะออกสู่ตลาด 2 ช่วง คือ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

                  จะเป็นผลผลิตของภาคตะวันออก และช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน จะเป็นผลผลิตของภาคใต้ โดย

                  ตลาดต่างประเทศที่เป็นตลาดเดิม คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน กัมพูชาและสหรัฐอเมริกา ตลาดใหม่
                  ได้แก่ อินเดีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22