Page 86 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 86

4-14





                        3. มาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                          -  การพัฒนาแหล่งน้ า เพื่อให้มีน้ าไว้ใช้ในช่วงที่ฝนแล้งหรือฝนขาดช่วง
                        4. มาตรการด้านนโยบาย และกฎหมาย
                          -  สนับสนุนกลุ่มผู้ปลูกและผู้แปรรูปสมุนไพร ให้ผลิตไพลที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของ

                  ตลาด
                          -  ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้แปรรูปสมุนไพร ให้คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
                  เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
                          -  จัดตั้งตลาดกลางวัตถุดิบสมุนไพร เพื่อประสานข้อมูลวัตถุดิบ และเป็นแหล่งรวบรวมวัตถุดิบ
                  ที่มีคุณภาพ

                          -  พัฒนากฎระเบียบที่จะส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ที่มีไพลเป็นส่วนประกอบ เข้าสู่ตลาดที่เป็น
                  มาตรฐาน
                          -  มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา เพื่อส่งเสริมสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพ ตั้งแต่ต้นน้ าจนถึงปลายน้ า

                          -  ส่งเสริมและพยายามให้มีการจดสิทธิบัตรสินค้าจากสมุนไพร

                  4.4  สรุปและข้อเสนอแนะ

                        4.4.1 สรุป
                  สามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินได้ 3 เขต ดังนี้
                            1. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพลที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) มีเนื้อที่ 587,396 ไร่ คิดเป็น

                  ร้อยละ 16.40 โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมมาก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย ตาก
                  ชัยภูมิ สุพรรณบุรี โดยแนวทางการพัฒนาเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพลที่มีความเหมาะสมมาก ได้แก่
                  การเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนการผลิต เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกไพล การเพิ่ม

                  มูลค่าผลผลิต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีไพลเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ และ
                  สารสกัดที่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ และส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะท าให้ไพลได้ราคาสูง
                            2. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพลที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) มีเนื้อที่ 2,090,273 ไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 58.38 โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมปานกลาง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี
                  จันทบุรี สุราษฎร์ธานี ตรัง และ สระแก้ว ซึ่งแนวทางการพัฒนาเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล ที่มีความ

                  เหมาะสมปานกลาง (Z-II) ประกอบด้วย การพัฒนาแหล่งน้ า เพื่อให้มีน้ าเพียงพอในช่วงเพาะปลูก การส่งเสริม
                  การรวมกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งการให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรที่ต้องการผลิตไพล การปรับปรุงบ ารุงดิน
                  และการส่งเสริมให้เกษตรกรท าเกษตรแบบผสมผสานเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

                            3. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพลที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) มีเนื้อที่ 903,095 ไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 25.22 โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมเล็กน้อย ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา
                  สุราษฎร์ธานี ตรัง สุรินทร์ เชียงราย โดยแนวทางในการจัดการที่ดินในเขตที่มีความเหมาะสมน้อย ได้แก่
                  การมีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญเสียหน้าดิน การแนะน าเกษตรกรในเรื่อง







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                            กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90