Page 85 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 85

4-13





                  4.3  มาตรการในการจัดการที่ดิน

                        1. มาตรการด้านการผลิต
                          -  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ปลูกไพล

                  และจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อมูลส าคัญในการด าเนินงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจไพลในอนาคต
                          -  วางแผนบริหารจัดการพื้นที่ปลูก เพื่อให้มีการใช้พื้นที่ตามศักยภาพของที่ดิน และส่งเสริม
                  แนวทางในการปรับปรุงบ ารุงดินให้แก่เกษตรกร เพื่อเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ในการให้ผลผลิต โดยการ
                  ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดิน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผล

                  ให้ดินแน่นทึบ ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง และควรส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภาพเพื่อ
                  ปรับโครงสร้างของดิน รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการในการลงทุนของเกษตรกร
                          -  ส่งเสริมให้เกษตรกรท าการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมการปลูกและการเก็บเกี่ยว
                  สมุนไพรตามมาตรฐานที่ก าหนด เพื่อให้ได้ผลผลิตไพลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะท าให้ได้ราคาสูง

                          -  ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการใช้พื้นที่หลากหลายโดยการท าเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อเพิ่มรายได้
                  ในช่วงที่ยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตไพลได้ หรือในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไพลไปแล้ว
                          -  จัดท าทะเบียนและเกษตรกรผู้ปลูกไพลให้เป็นปัจจุบัน และจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่โดยใช้ระบบ
                  สารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการด าเนินการวางแผนพัฒนาพื้นที่ส าหรับการผลิตไพล

                  และการส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกไพล
                          -  รวบรวมองค์ความรู้ของเกษตรกรที่ประสบความส าเร็จในการปลูกไพล และส่งเสริมให้เกิดการ
                  ถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวไปสู่ชุมชมหรือพื้นที่อื่นๆ ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด
                          -  ศึกษาวิจัย และรวบรวมข้อมูลพื้นที่แหล่งผลิตไพลที่ให้สาระส าคัญสูง  เพื่อเป็นข้อมูลส าหรับ

                  ผู้ประกอบการ
                          -  พัฒนาเมืองสมุนไพรให้ประสบผลส าเร็จเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นแหล่งปลูกสมุนไพรที่ส าคัญ และ
                  เป็นแหล่งรวบรวม และพัฒนาสมุนไพรที่มีคุณภาพ
                        2. มาตรการด้านการตลาด

                          -  ส่งเสริมและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีไพลเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของไทยเป็นที่
                  ยอมรับทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ
                          -  ส่งเสริม และให้ความรู้แก่ชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และตอบสนอง

                  ความต้องการของตลาด
                          -  สร้างอัตลักษณ์ของไพลไทย โดยเน้นด้านคุณภาพ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและ
                  ต่างประเทศ
                          -  ส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานสารสกัดในระดับชุมชน โดยเฉพาะน้ ามันสกัดจากไพล เนื่องจาก
                  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                            กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90