Page 63 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 63

3-17





                  3.2  นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพรไพล

                        3.2.1 แผนแม่บทแห่งชาติ
                        ยุทธศาสตร์ที่ 1  ส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งใน

                  และต่างประเทศ
                          ยุทธศาสตร์ส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งใน
                  และต่างประเทศ ครอบคลุมการจัดการด้านการปลูกและการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร การจัดการ
                  คุณภาพวัตถุดิบสมุนไพร การจัดการตลาดวัตถุดิบสมุนไพร การวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร และการ

                  คุ้มครองพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในประเทศไทย โดยยุทธศาสตร์นี้
                  ประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ
                            มาตรการที่ 1 การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
                            เพื่อให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งชนิด ปริมาณ และ

                  คุณภาพ โดยก าหนดมาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวสมุนไพร ส่งเสริมการปลุกและเก็บเกี่ยว
                  สมุนไพร จัดท าแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินส าหรับปลูกพืชสมุนไพร สนับสนุนให้มีการแปรรูปอย่าง
                  ง่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบสมุนไพร จัดท าฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกสมุนไพร สนับสนุนให้มีการแปรรูปอย่าง
                  ง่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบสมุนไพร จัดท าฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร เพิ่มบริการตรวจสอบคุณภาพ

                  วัตถุดิบ และการจัดตั้งตลาดกลางสมุนไพร ซึ่งมาตรการนี้ประกอบด้วย 5 แผนงาน คือ
                              1. ส่งเสริมการปลูกและแปรรูปสมุนไพรอย่างมีคุณภาพ
                              2. จัดท าฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร (Land Use) เพื่อการบริหารจัดการ
                              3. จัดท าแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินส าหรับปลูกพืชสมุนไพร (Land Suitbaility)

                              4. เพิ่มจ านวนห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน ISO 17025 ส าหรับบริการตรวจสอบ
                  คุณภาพวัตถุดิบ
                              5. พัฒนาระบบตลาดกลางและตลาดอิเล็กทรอนิกส์
                            เป้าหมายมาตรการ

                              1. มีการปลูกสมุนไพรที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่ก าหนด 43,000 ไร่ (สมุนไพรใน
                  แปลง จ านวน 39,500 ไร่ และสมุนไพรในป่าเศรษฐกิจชุมชน 70 แปลง 3,500 ไร่)
                              2. กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ได้รับการส่งเสริมการแปรรูปหลังการเก็บ

                  เกี่ยว ณ สถานที่ปลูก และการผลิตผลิตภัณฑ์และสารสกัดอย่างง่ายในระดับชุมชน 50 แห่ง
                              3. มีข้อก าหนดมาตรฐาน GAP/GACP ฯลฯ ของพืชสมุนไพร อย่างน้อย 30 ชนิด
                              4. มีฐานข้อมูลพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร (Land Use) 1 ฐานข้อมูล
                              5. มีแผนที่ความเหมาะสมของที่ดินส าหรับปลูกพืชสมุนไพร (Land Suitability) อย่าง
                  น้อย 30 ชนิด

                              6. มีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐาน ISO 17025 ให้บริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ
                  จ านวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 15 แห่ง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 10 แห่ง และมหาวิทยาลัยต่างๆ 5
                  แห่ง)

                              7. มีระบบตลาดกลาง 4 แห่ง และตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 1 แห่ง (E-Market)






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68