Page 107 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 107

3-27





                  3.2  การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม

                          ยาสูบเป็นพืชไร่ชนิดหนึ่งของไทยที่มีความส้าคัญต่อการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นอาชีพเสริม
                  หลังจากการเก็บเกี่ยวนาข้าวแล้ว เนื่องจากยาสูบเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็วประมาณ 70 - 90 วัน ก็

                  สามารถเก็บเกี่ยวผลิตได้ กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร และกลุ่มวางแผนบริหารจัดการพื นที่ชุ่มน ้า
                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ได้ด้าเนินการส้ารวจข้อมูลด้านต้นทุนและผลตอบแทนโดยจ้าแนกตาม
                  ความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดินของพื นที่ปลูกยาสูบทั งประเทศ ทั งนี ได้แบ่งศึกษาเป็น 3 ส่วน คือ
                  ส่วนที่ 1 การใช้ปัจจัยในการผลิต ส่วนที่ 2 ต้นทุนการผลิต มูลค่าผลผลิต (รายได้) และผลตอบแทน

                  จากการผลิต ส่วนที่ 3 ปัญหาความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐและทัศนคติของเกษตรกรผู้ผลิตยาสูบ
                  ข้อมูลที่ใช้ศึกษาได้จากการส้ารวจเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตที่ส้าคัญของแต่ละภาค
                  ทั งนี จ้าแนกการศึกษาตามความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดินที่ส้ารวจตัวอย่างเกษตรกรผู้ผลิตยาสูบไว้
                  2 ระดับ คือ พื นที่ที่ดินมีความเหมาะสมเฉพาะทางกายภาพสูง (S1) และพื นที่ที่ดินมีความเหมาะสม

                  เฉพาะทางกายภาพปานกลาง (S2) และจ้าแนกตามแหล่งการผลิตที่ส้าคัญ ได้แก่ ภาคเหนือ และภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนปัญหาความต้องการและทัศนคติของเกษตรกรจะศึกษาในภาพรวมจ้าแนก
                  ตามภาค รายละเอียดผลการวิเคราะห์ดังหัวข้อต่อไปนี
                        3.2.1 การใช้ปัจจัยในการผลิต

                             การจัดการไร่ยาสูบด้วยการดูแลรักษาที่ดีตลอดจนการใช้ปัจจัยการผลิตในปริมาณที่
                  เหมาะสมกับสภาพดินจะส่งผลให้ยาสูบให้ปริมาณผลผลิตเป็นไปตามศักยภาพของที่ดิน ซึ่งจะท้าให้
                  เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตไม่สูงนัก ทั งสามารถลดต้นทุนการผลิตในปัจจุบันบางชนิดลงได้อีก โดย

                  การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมีบางส่วน ท้าให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทน
                  ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตยาสูบซึ่งแยกเป็นทั งประเทศ และรายภาค ดังนี
                             1) ปัจจัยการผลิตทั้งประเทศ
                                จากผลการส้ารวจในปีการผลิต 2561 พบว่า เกษตรกรมีเนื อที่เพาะปลูกเฉลี่ย 4.93 ไร่
                  ต่อครัวเรือน ขนาดของเนื อที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นไร่ขนาดเล็ก การดูแลรักษา พบว่า มีการใช้สารเคมี

                  ปราบวัชพืชและสารเคมีปราบศัตรูพืช การก้าจัดวัชพืชใช้แรงงานเครื่องจักรควบคู่กับการใช้แรงงานคน
                  แรงงานที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่เป็นแรงงานคน 14.45 วันงานต่อไร่ โดยมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละ 37.82
                  ของต้นทุนผันแปรทั งหมด ค่าวัสดุการเกษตรนั นมีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 43.08 ของต้นทุนผันแปรทั งหมด

                  ซึ่งจะเป็นปุ๋ยเคมี 113.48 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพ 10.24 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางที่ 3-4)
                                เมื่อจ้าแนกพื นที่ตามระดับความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดินส้าหรับการปลูกยาสูบ
                  พบว่า ในเขตพื นที่ที่ดินมีความเหมาะสมสูง (S1) เกษตรกรมีเนื อที่เพาะปลูกเฉลี่ย 4.84 ไร่ต่อครัวเรือน
                  แรงงานที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานคน 15.15 วันงานต่อไร่ โดยมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละ 35.83 ของ

                  ต้นทุนผันแปรทั งหมด วัสดุการเกษตรนั นมีมูลค่า คิดเป็นร้อยละ 46.54 ของต้นทุนผันแปรทั งหมด ซึ่ง
                  เกษตรกรจะใส่ปุ๋ยเคมี 128.93 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพ 13.14 กิโลกรัมต่อไร่
                  ขณะที่ในเขตพื นที่ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลาง (S2) เกษตรกรมีเนื อที่เพาะปลูกเฉลี่ย 5.13 ไร่ต่อครัวเรือน
                  แรงงานที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานคน 13.11 วันงานต่อไร่ โดยมีค่าแรงงานคิดเป็นร้อยละ 42.36 ของ

                  ต้นทุนผันแปรทั งหมด วัสดุการเกษตรนั นมีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 37.70 ของต้นทุนผันแปรทั งหมด ซึ่งเกษตรกร
                  จะใส่ปุ๋ยเคมี 85.16 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพ 4.93 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางที่ 3-4)





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112