Page 287 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 287

4-13





                  ป้องกันศัตรูพืช การควบคุมคุณภาพผลผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆ ในหมู่สมาชิก เพื่อจะให้มี

                  อํานาจในการต่อรองด้านราคาและรับการสนับสนุนจากหน่วยงานองค์การต่างๆ ได้มากขึ้น

                             2)  ภาครัฐต้องสนับสนุนให้เกษตรกรมีการพัฒนาการจัดการคุณภาพผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
                  โดยส่งเสริมและให้ความรู้ในเรื่องการปฏิบัติให้ถูกวิธีในการเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

                  การคัดเกรด การรับรอง/ควบคุมคุณภาพ

                             3)  มีการส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ส้มโอ โดยสนับสนุนให้มีการทําข้อตกลง

                  ล่วงหน้าหรือสัญญา Contract Farming  หรือให้ความรู้ด้านการเกษตรในการดําเนินการผลิตให้ถูกต้อง
                  ตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับพืช

                             4)  สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มและให้ความรู้ เพื่อให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการ

                  ผลผลิตและการตลาด ตลอดจนการบริหารธุรกิจในรูปของกลุ่มเกษตรกรและเครือข่าย

                  4.4  สรุปและขอเสนอแนะ

                        สรุป

                        การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอนี้ เป็นการพิจารณาเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม

                  ตามเขตความเหมาะสมของดินกับการปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีปริมาณนํ้าฝนเหมาะสมเท่ านั้น ไม่ รวมพื้นที่

                  ในเขตสงวนของรัฐ เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ และเขตป่าสงวนแห่งชาติ
                  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย ที่กําหนดให้ส้มโอเป็นไม้ผล

                  เศรษฐกิจรองที่สามารถเพิ่มผลิตผลที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของลูกค้า ดังนั้น

                  การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอจึงเน้นการเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ที่มีศักยภาพที่ทําการ
                  ปลูกส้มโออยู่เดิม ตลอดจนพื้นที่ที่เหมาะสมในการขยายพื้นที่ปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่

                  ที่มีศักยภาพสูง ในการจัดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอได้เสนอเขตการใช้ที่ดินไว้ 3 เขต ดังนี้

                         1) เขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมมากสําหรับเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกส้มโอ มีเนื้อที่รวม 76,933 ไร่
                  คิดเป็นร้อยละ 77.44 ของพื้นที่เขตการใช้ที่ดินส้มโอทั้งประเทศ

                         2)  เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลางสําหรับการปลูกส้มโอ มีเนื้อที่รวม 940  ไร่

                  คิดเป็นร้อยละ 0.94 ของพื้นที่เขตการใช้ที่ดินส้มโอทั้งประเทศ
                         3)  เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อยสําหรับการปลูกส้มโอ มีเนื้อที่รวม 21,473 ไร่


                  คิดเป็นร้อยละ 21.62 ของพื้นที่เขตการใช้ที่ดินส้มโอทั้งประเทศ










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292