Page 286 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 286

4-12





                  พื้นที่ดังกล่าวจึงจําเป็นต้องกระทําโดยเร่งด่วนจึงเสนอมาตรการที่จําเป็นและมีความเร่งด่วนที่ต้องกระทํา

                  รวมถึงมาตรการระยะกลางและระยะยาวดังนี้

                           มาตรการเรงดวน เร่ง1ขยายพันธุ์ส้มโอที่เก็บยอดพันธุ์ไว้ก่อนนํ้าท่วม  เพื่อส่งคืนพันธุ์เดิม

                  ให้เกษตรกร  นอกจากนี้ยังควรให้คําแนะนําและสาธิตการจัดการสวนผลไม้ทั้งระหว่างและหลังเกิดอุทกภัย
                  ผสมผสานกับแนวทางการผลิตตามวิถีชีวิตดั้งเดิม ให้เกษตรกรทําการปรับพื้นที่ จัดการดิน และต้นส้มโอ

                  ที่ถูกนํ้าท่วมขัง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการช่วยเหลือเกษตรกร

                  ที่ได้รับผลกระทบจากภัยนํ้าท่วมภายใต้ “โครงการกู้วิกฤตสวนไม้ผลพันธุ์ดีเฉพาะถิ่นที่ประสบอุทกภัย”
                           มาตรการระยะยาว ส่งเสริมให้เกษตรกรขยายการปลูกในพื้นที่เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ

                  ส้มโอที่มีความเหมาะสมสูง และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงจากการจัดการพื้นที่ (Z-I) ทั้งนี้ เพื่อให้ได้

                  ผลผลิตที่รวดเร็ว ลําต้นแข็งแรง โดยใช้ต้นทุนการผลิตตํ่า นอกจากนี้ควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรนํา

                  ดินมาวิเคราะห์ เนื่องจากพื้นที่หลังนํ้าท่วมมักได้รับการตกค้างของตะกอนดินและสารต่างๆ รวมถึง
                  การถูกชะล้างของหน้าดิน ซึ่งอาจส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่าลง เมื่อได้ผลการวิเคราะห์แล้ว

                  ต้องได้รับการแนะนําการใส่ปุ๋ ยและบํารุงดินให้สอดคล้องกับพื้นที่ในปริมาณที่เหมาะสม

                        4.3.2  มาตรการในการพัฒนาศักยภาพการผลิต
                            1)  สนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรดําเนินการผลิตให้ถูกต้องตามระบบการจัดการคุณภาพ

                  การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับพืช เน้นการใช้สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องปลอดภัย

                            2)  ส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต โดยสนับสนุนให้
                  เกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร/เกษตรอินทรีย์ รวมถึงส่งเสริมให้เกษตรกร

                  ปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชปุ๋ ยสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง โสนอัฟริกัน

                            3)  ส่งเสริมประชาสัมพันธ์และสาธิตให้เกษตรกรเจ้าของสวนส้มโอทําการควบคุมทรงพุ่ม

                  และตัดแต่งกิ่งอย่างถูกวิธี
                            4)  ดําเนินการปรับปรุงบํารุงดินตามมาตรการของกรมพัฒนาที่ดิน โดยการให้ข้อมูล

                  จากโปรแกรมปุ๋ ยรายแปลงเพื่อทราบสถานะความอุดมสมบูรณ์ของที่ดิน เพื่อที่สามารถกําหนด

                  แนวทางและปริมาณของวัสดุในการปรับปรุงบํารุงดิน เช่น ปริมาณของปุ๋ ยหรือเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ ยสด

                  ตลอดจนวิธีการในการอนุรักษ์ดินและนํ้า เพื่อที่จะจัดการให้ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์และสามารถ
                  ส่งเสริมให้ส้มโอมีความแข็งแรงเจริญเติบโตดี ผลผลิตสูงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

                        4.3.3  มาตรการดานการตลาด

                             1)  สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ เพื่อดําเนินกิจกรรมตั้งแต่การจัดหา
                  ปัจจัยในการผลิต จนถึงการจําหน่ายผลผลิต และสามารถสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการ








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291