Page 198 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 198

3-104





                        3.2.2  ต้นทุน และผลตอบแทนจากการผลิต

                             ต้นทุนในการจัดการดูแลรักษา ซึ่งรวมถึงการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ ตลอดจน

                  ผลตอบแทนการผลิตเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการผลิตให้เห็นถึงความเหมาะสมของการปลูกส้มโอ

                  ในพื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสมทางกายภาพต่างกันและพื้นที่ภาคต่างๆ ทั้งประเทศ ดังนั้นจึงได้จ าแนก

                  การวิเคราะห์ออกเป็น 2 ลักษณะ ราคาผลผลิตที่น ามาค านวณมูลค่าผลผลิตหรือรายได้นั้นใช้ราคาส้มโอ
                  เฉลี่ยจากตัวอย่าง ซึ่งใช้เป็นราคาเดียวกันในการค านวณมูลค่าผลผลิตในทุกระดับความเหมาะสม

                  ทางกายภาพของที่ดิน คือ 30.07 บาทต่อกิโลกรัม การที่ใช้ราคาดังที่กล่าวก็เพื่อขจัดปัญหาด้านราคา

                  ที่แตกต่างกันตามสถานที่ผลิตในแต่ละภาคและระยะเวลาจ าหน่ายผลผลิต ส่วนการวิเคราะห์รายภาคนั้น

                  ใช้ราคาส้มโอของแต่ละภาคเพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นถึงราคาผลผลิตที่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ได้รับ

                  โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือราคาส้มโอพันธุ์ขาวทองดี ขาวใหญ่ฯ สูงที่สุด 35.77 บาทต่อกิโลกรัม
                  รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง (พันธุ์ขาวทองดี ขาวใหญ่ฯ)  ภาคใต้ (พันธุ์ขาวทองดี ขาวใหญ่ฯ) 35.67

                  และ 18.47 บาทต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ส่วนภาคเหนือ เกษตรกรจ าหน่ายส้มโอ (พันธุ์ขาวทองดี

                  ขาวใหญ่) และพันธุ์อื่นๆ (พันธุ์เซลเลอร์ และท่าข่อย) 29.66 และ 22.76 บาทต่อกิโลกรัม ตามล าดับ

                             การวิเคราะห์เพื่อทราบผลตอบแทนจากการผลิตส้มโอ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ต้นทุน
                  หรือค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งจ าแนกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ โดยในแต่ละ

                  ประเภทของต้นทุนนั้น จ าแนกย่อยเป็นต้นทุนที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด การวิเคราะห์

                  ผลตอบแทนจากการผลิตจึงได้วิเคราะห์ตามต้นทุนที่จ าแนกไว้ คือ จะพิจารณาจากผลตอบแทน
                  เหนือต้นทุนเงินสด ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรและผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดและ

                  การวิเคราะห์ข้อมูลของผลผลิตและราคาเสมือนกับเป็นสวนส้มโอแปลงเดียวกันตลอด (ส้มโอ 1 ผล

                  เท่ากับ 1.5 กิโลกรัม) ช่วงระยะเวลาของการลงทุนโครงการ เพื่อน ามาหาค่าเฉลี่ยซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับ

                  สภาพความเป็นจริงในทางการปฏิบัติ แต่ด้วยสภาพเงื่อนไขของการศึกษาในครั้งนี้ทั้งด้านงบประมาณ
                  และระยะเวลาที่จ ากัด จึงด าเนินการเท่าที่เป็นไปได้แต่ให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด และเนื่องจาก

                  ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุการผลิตมากกว่า 1 ปี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนนอกจากการวิเคราะห์

                  ต้นทุนและผลตอบแทนพืชตามปกติแล้ว ยังได้เพิ่มการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการเพื่อ
                  เป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน โดยค านวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV)

                  ของต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตส้มโอทุกช่วงอายุที่ให้ผลผลิต 2 0  ปี อัตราคิดลด

                  (Discount  Rate) ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                  ร้อยละ 7 บาทต่อปี (เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส าหรับลูกค้าชั้นดีของธนาคารเพื่อการเกษตรและ

                  สหกรณ์การเกษตร) ส าหรับค่าผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปีได้จากการปรับค่ามูลค่าปัจจุบันของต้นทุน

                  มูลค่าผลผลิต (รายได้) และผลตอบแทนด้วยการคูณด้วยตัวกอบกู้ทุน (Capital Recovery Factor : CRF)




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203