Page 47 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 47

2-33






                           หน่วยที่ดิน 41C คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 41 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด

                           หน่วยที่ดิน 41D คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 41 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน


                        กลุ่มชุดดินที่ 42
                        เป็นกลุ่มชุดดินที่พบบริเวณหาดทรายเก่าหรือสันทรายชายทะเล เกิดจากตะกอนทรายชายทะเล

                  พบบนพื้นที่ดอน เป็นดินลึกปานกลางถึงชั้นดานอินทรีย์ มีการระบายนํ้าดีปานกลาง เนื้อดินเป็นทรายจัด

                  สีดินบนเป็นสีเทาแก่ ใต้ลงไปเป็นชั้นทรายสีขาว และดินล่างระหว่างความลึก 50-100  เซนติเมตร

                  เป็นชั้นที่มีการสะสมของพวกอินทรียวัตถุ เหล็กหรือฮิวมัส สีนํ้าตาล สีแดง ชั้นเหล่านี้มีการเชื่อมตัวกัน
                  แน่นแข็งเป็นชั้นดานอินทรีย์ ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก

                  ถึงเป็นกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.0

                        ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่ามากและเนื้อดิน
                  ค่อนข้างเป็นทรายจัด ไม่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชหลงเหลืออยู่และพืชมักแสดงอาการ

                  ขาดธาตุอาหารให้เห็น ในช่วงฤดูแล้งชั้นดานจะแห้งและแข็งมากรากพืชไม่สามารถไชชอนผ่านไปได้

                  ส่วนในช่วงฤดูฝนจะเปียกแฉะและมีนํ้าแช่ขัง
                        กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 42 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 42 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ

                           หน่วยที่ดิน 42B  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 42 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
                  ลอนลาดเล็กน้อย


                        กลุ่มชุดดินที่ 43

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคใต้และภาคตะวันออก หรือบริเวณชายฝั่งทะเล
                  เกิดจากตะกอนทรายชายทะเลหรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูก

                  เคลื่อนย้ายมาทับถมของพวกวัสดุเนื้อหยาบ พบบริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเลหรือบริเวณ

                  ที่ลาดเชิงเขา เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าค่อนข้างมากเกินไป เนื้อดินเป็นพวกดินทราย ดินมีสีเทา

                  สีนํ้าตาลอ่อนหรือสีเหลือง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก
                  ถึงเป็นกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-6.0 ถ้าพบบริเวณสันทรายชายทะเลจะมี

                  เปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง

                  ประมาณ 6.5-8.0
                        ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัด ทําให้มีความสามารถในการอุ้มนํ้า

                  ได้น้อย พืชจะแสดงอาการขาดนํ้าอยู่เสมอ นอกจากนี้ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่ามาก









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52