Page 44 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 44

2-30






                           หน่วยที่ดิน 37C คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 37 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด

                           หน่วยที่ดิน 37D คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 37 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน


                        กลุ่มชุดดินที่ 38
                        เป็นกลุ่มชุดดินที่มีวัตถุต้นกําเนิดดินเป็นพวกตะกอนลํานํ้าที่มีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ

                  ของตะกอนลํานํ้าในแต่ละช่วงเวลา พบบนสันดินริมนํ้าหรือที่ราบตะกอนนํ้าพา พบบริเวณพื้นที่ดอน

                  เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหรือดินร่วนหยาบ สีดินเป็น

                  สีนํ้าตาลอ่อน อาจพบจุดประสีเทาและสีนํ้าตาลในชั้นดินล่าง ในบางบริเวณมีแร่ไมกาหรือก้อนปูน
                  ปะปนอยู่ด้วย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง

                  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-7.0

                        ดินกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ ยกเว้นในช่วงฤดูฝนนํ้าในลํานํ้าอาจเอ่อล้นฝั่งทําความเสียหาย
                  ให้แก่พืชผลได้

                        กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 38 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 38 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
                           หน่วยที่ดิน 38b  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 38 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ

                  และมีคันนา

                           หน่วยที่ดิน 38B  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 38 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
                  ลอนลาดเล็กน้อย

                           หน่วยที่ดิน 38C คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 38 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด

                           หน่วยที่ดิน 38D คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 38 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน


                        กลุ่มชุดดินที่ 39
                        เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคใต้และภาคตะวันออก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดิน

                  พวกตะกอนลํานํ้าหรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม

                  ของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากพวกหินอัคนีหรือหินตะกอน พบบริเวณพื้นที่ดอน เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าดี
                  ถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ สีดินเป็นสีนํ้าตาล สีเหลืองหรือสีแดง และอาจพบ

                  จุดประสีต่างๆ ในชั้นดินล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึง

                  กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5
                        ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า

                  และมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49