Page 115 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 115

3-33





                        3.2.2  ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนการผลิต

                          1)  ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทน ปีเพาะปลูก 2554/55

                            ทานตะวันในปีเพาะปลูก 2554/55 ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 252.34 กิโลกรัม รายได้/มูลค่าผลผลิต
                  ไร่ละ 5,008.95 บาท ต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 3,807.47 บาท เป็นต้นทุนผันแปรไร่ละ 1,769.16 บาท

                  (ร้อยละ 46.47) และต้นทุนคงที่ไร่ละ 2,038.31 บาท (ร้อยละ 53.53) ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปร

                  ส่วนใหญ่เป็นค่าพันธุ์ไร่ละ 533.91 บาท (ร้อยละ 30.18) ค่าแรงงานเครื่องจักรไร่ละ 454.84 บาท
                  (ร้อยละ 25.70) ค่าซ่อมแซม/เช่าอุปกรณ์การเกษตรไร่ละ 330.35 บาท (ร้อยละ 18.67) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้

                  ไร่ละ 217.40 บาท (ร้อยละ 12.28) ค่าปุ๋ ยรวมไร่ละ 87.95 บาท (ร้อยละ 4.97) ค่านํ้ามันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
                  ไร่ละ 47.29 บาท(ร้อยละ 2.67) เป็นต้น ต้นทุนคงที่ที่คิดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ ได้แก่ ค่าเช่าที่ดินไร่ละ877.52

                  (ร้อยละ 43.05) รองลงมา ได้แก่ ค่าใช้ที่ดินไร่ละ 695.36 บาท (ร้อยละ 34.11) ค่าเสื่อมเครื่องมือ
                  และอุปกรณ์การเกษตรไร่ละ 461.88 บาท (ร้อยละ 22.66) เป็นต้น จากต้นทุนทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่าย

                  ที่เป็นเงินไร่ละ 1,684.85 บาท (ร้อยละ 44.25) และไม่เป็นเงินไร่ละ 2,122.62 บาท (ร้อยละ 55.75)

                  ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินไร่ละ 3,324.10 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรไร่ละ
                  3,239.79 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 1,201.48 บาท ต้นทุนต่อกิโลกรัม 15.09 บาท

                  (ตํ่ากว่าราคาขาย) และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.32 แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรได้รับรายได้
                  จากการลงทุนตํ่า (ตารางที่ 3-6)

                             2)  ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนจําแนกตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่

                           (1) พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) ทานตะวันที่ปลูกในพื้นที่ที่มีระดับ
                  ความเหมาะสมสูง (S1) ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 282.47 กิโลกรัม รายได้/มูลค่าผลผลิตไร่ละ 5,607.03 บาท

                  ต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 3,694.46 บาท เป็นต้นทุนผันแปรไร่ละ 1,654.83 บาท (ร้อยละ 44.79) และต้นทุนคงที่
                  ไร่ละ 2,039.63 บาท (ร้อยละ 55.21) ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าพันธุ์ไร่ละ 508.12 บาท

                  (ร้อยละ 30.71) ค่าแรงงานเครื่องจักรไร่ละ 432.75 บาท (ร้อยละ 26.15) ค่าซ่อมแซม/เช่าอุปกรณ์การเกษตร

                  ไร่ละ 241.75 บาท (ร้อยละ 14.61) ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ไร่ละ 226.69 บาท (ร้อยละ 13.70) ค่าปุ๋ ยรวม
                  ไร่ละ 90.28 บาท (ร้อยละ 5.46) ค่านํ้ามันเชื้อเพลิงและหล่อลื่นไร่ละ 40.42 บาท (ร้อยละ 2.44) เป็นต้น

                  ต้นทุนคงที่ที่คิดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ ได้แก่ ค่าเช่าที่ดินไร่ละ 934.31 บาท (ร้อยละ 45.81) รองลงมา
                  ได้แก่ ค่าใช้ที่ดินไร่ละ 731.02 บาท (ร้อยละ 35.84) ค่าเสื่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรไร่ละ

                  370.61 บาท (ร้อยละ 18.17) เป็นต้น จากต้นทุนทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินไร่ละ 1,636.21 บาท
                  (ร้อยละ 44.29) และไม่เป็นเงินไร่ละ 2,058.25 บาท (ร้อยละ 55.71) ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงิน

                  ไร่ละ 3,970.82 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรไร่ละ 3,952.20 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด

                  ไร่ละ 1,912.57 บาท ต้นทุนต่อกิโลกรัม 13.08 บาท (ตํ่ากว่าราคาขาย) และมีอัตราส่วนรายได้
                  ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.52 แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรได้รับรายได้จากการลงทุนค่อนข้างตํ่า (ตารางที่ 3-7)







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120