Page 113 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 113

3-31





                        ทานตะวัน ปีเพาะปลูก 2554/55 ทําการสํารวจการผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสระบุรี

                  ลพบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ จําแนกตัวอย่างตามความเหมาะสมทางกายภาพของพื้นที่ 3 ระดับ

                  คือ ระดับความเหมาะสมสูง (S1)  เหมาะสมปานกลาง (S2)  และเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ราคาผลผลิต
                  ที่ใช้คํานวณรายได้ (มูลค่าผลผลิต) ใช้ราคาเฉลี่ยราคาเดียวที่ได้จากการสํารวจ ทั้งนี้เพื่อกําจัดปัญหา

                  ด้านราคาที่มีความแตกต่างกันตามสถานที่และระยะเวลา โดยราคาขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.85 บาท

                  พันธุ์ทานตะวันที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมแปซิฟิก ร้อยละ 74.74 พันธุ์อาตูเอล ร้อยละ 19.19

                  และพันธุ์ลูกผสมจัมโบ้ ร้อยละ 6.07 การขายผลผลิตของเกษตรกร ร้อยละ 7.69 ของจํานวนตัวอย่าง
                  ที่สํารวจ ขายทานตะวันตามข้อตกลง ร้อยละ 92.31 ขายอิสระ โดยขายให้พ่อค้าท้องถิ่นร้อยละ 85.58

                  ขายให้พ่อค้าในจังหวัดเดียวกัน ร้อยละ 11.54 ขายให้สหกรณ์ ร้อยละ 1.92 ขายให้พ่อค้าต่างจังหวัด

                  ร้อยละ 0.96

                        3.2.1  การใช้ปัจจัยการผลิต

                             ปีเพาะปลูก 2554/55 พื้นที่เพาะปลูกทานตะวันเฉลี่ย 24.78 ไร่ต่อครัวเรือน (ถือครองที่ดิน

                  เป็นของตนเองเฉลี่ย 19.16 ไร่ต่อครัวเรือน และเช่าที่ดินเฉลี่ย 4.89 ไร่ต่อครัวเรือน) ใช้แรงงาน
                  เครื่องจักรในการเตรียมดินและปลูกโดยไถ 1 ครั้ง และหว่าน/หยอด พร้อมใส่ปุ๋ ยเคมี เก็บเกี่ยว และโม่ดอก

                  เอาเมล็ดออก ใช้แรงงานคนเล็กน้อยในบางพื้นที่ เช่น ฉีดพ่นสารกําจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ ยคอกและปราบศัตรูพืช

                  (นกพิราบ) การดูแลรักษามีการใช้ปุ๋ ยเคมีโดยส่วนใหญ่ใช้สูตร 46-0-0 รองลงมาเป็นสูตร 16-20-0  16-8-8
                  และ 15-15-15

                             จากการสํารวจการผลิตทานตะวันของเกษตรกร พบว่า มีการใช้แรงงานเครื่องจักร

                  มากกว่าแรงงานคน ปริมาณการใช้ปุ๋ ยและการดูแลรักษาน้อยมาก เนื่องจากทานตะวันเป็นพืชที่

                  ทนทานต่อความแห้งแล้งและดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่าใช้ระยะเวลาสั้นในการให้ผลผลิต การใช้
                  ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ยไร่ละ 1.25 กิโลกรัม แรงงานคนเฉลี่ยไร่ละ 0.14 วันต่อคน

                  แรงงานเครื่องจักรเฉลี่ยไร่ละ 0.53 ชั่วโมง  ปริมาณการใช้ปุ๋ ยเคมีเฉลี่ยไร่ละ 4.39 กิโลกรัม ปุ๋ ยคอก

                  เฉลี่ยไร่ละ 2.28 กิโลกรัม และมีการใช้ปุ๋ ยชีวภาพ สารเร่งการเจริญเติบโตและสารกําจัดวัชพืช
                  เป็นปริมาณเล็กน้อย รวมทั้งนํ้ามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องจักรเฉลี่ยไร่ละ 1.32 ลิตร (ตารางที่ 3-5)

                             เมื่อจําแนกการใช้ปัจจัยการผลิตตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่ พบว่า ในพื้นที่

                  ตามความเหมาะสมทั้ง 3 ระดับ มีการใช้ปัจจัยการผลิตที่สําคัญในปริมาณที่ไม่แตกต่างกันนัก ได้แก่

                  เมล็ดพันธุ์ ปริมาณการใช้ในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) เฉลี่ยไร่ละ 1.28 กิโลกรัม
                  ขณะที่พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) และปานกลาง (S2) ใช้เมล็ดพันธุ์เป็นปริมาณเท่ากัน

                  เฉลี่ยไร่ละ 1.24 กิโลกรัม การใช้ปุ๋ ยเคมีในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ใช้เป็นปริมาณ

                  มากที่สุดเฉลี่ยไร่ละ 5.90 กิโลกรัม รองลงมาเฉลี่ยไร่ละ 4.39 กิโลกรัม ในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสม





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118