Page 106 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 106

3-24





                  ตารางที่ 3-4  เนื้อที่ความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกทานตะวันเป็นรายภาค

                                          เหมาะสมสูง (S1)     เหมาะสมปานกลาง (S2)    เหมาะสมเล็กน้อย (S3)
                           ภาค
                                           ไร่    ร้อยละ         ไร่      ร้อยละ         ไร่     ร้อยละ
                  ภาคเหนือ              3,344,089 41.61       6,396,624   17.25       7,603,762   18.67

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   1,545,547  19.23    10,819,785  29.18      22,214,393   54.53
                  ภาคกลาง               3,119,147 38.82       3,989,978   10.76       3,443,681   8.45

                  ภาคตะวันออก            27,136    0.34       4,473,223   12.06       4,284,788   10.52
                  ภาคใต้                    -        -        11,404,491  30.75       3,188,547   7.83
                           รวม          8,035,919  100.00   37,084,101    100.00     40,735,171   100.00


                  3.2  การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม


                        การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของการผลิตทานตะวัน ปีเพาะปลูก 2554/55ได้แบ่งพื้นที่
                  การศึกษาตามความเหมาะสมของพื้นที่ 3 ระดับ คือ พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1)  พื้นที่ที่มี

                  ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) และพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) การศึกษา

                  แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การใช้ปัจจัยการผลิต ส่วนที่ 2 ต้นทุน รายได้ (มูลค่าผลผลิต)
                  และผลตอบแทนจากการผลิต แบ่งการศึกษาตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนที่ 3 ปัญหา

                  ความต้องการความช่วยเหลือด้านการผลิต และทัศนคติในการใช้ที่ดินของเกษตรกรที่ปลูกทานตะวัน

                  ศึกษาเป็นภาพรวมของทุกพื้นที่
                        ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตจําแนกเป็น 2 ประเภท คือต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่

                  ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อทําการผลิตและจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต

                  ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการปลูก (พันธุ์และแรงงาน เป็นต้น) ค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษา (ค่าปุ๋ ย สารอาหาร

                  สารป้องกันและกําจัดวัชพืช ศัตรูพืช ค่าแรงงาน เป็นต้น) ต้นทุนคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นคงที่แม้จะ
                  ไม่ทําการผลิตก็ต้องมีค่าใช้จ่ายจํานวนนี้ ได้แก่ ค่าเช่าที่ดิน ค่าใช้ที่ดิน ค่าภาษีที่ดิน และค่าเสื่อม

                  อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ต้นทุนที่เป็นเงิน เป็นต้นทุนที่เป็นตัวเงินที่เกษตรกรจ่ายไปจริงในการซื้อหรือ

                  จ้างปัจจัยในการผลิต ต้นทุนที่ไม่เป็นเงิน เป็นต้นทุนที่คิดจากมูลค่าของปัจจัยที่เกษตรกรใช้ในการ

                  ผลิตโดยเกษตรกรเป็นเจ้าของปัจจัยหรือได้มาโดยไม่ได้คิดเป็นตัวเงิน ได้แก่ ค่าแรงงานคน
                  ในครัวเรือน ค่าแรงงานเครื่องจักรของตนเอง และค่าใช้ที่ดินของตนเอง เป็นต้น ผลตอบแทนจากการ

                  ผลิตจะพิจารณาจากผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็ นเงิน ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งอัตราส่วนรายได้ (มูลค่าผลผลิต) ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio)
                  เพื่อเปรียบเทียบและแสดงให้เห็นถึงรายได้ที่ได้รับจากการลงทุน








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111