Page 103 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 103

3-21





                        3.1.3  การจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                             จากหลักการของ FAO framework  ได้จําแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น

                  2 อันดับ (order) 4 ชั้น (class) โดยแสดงรายละเอียดได้ดังนี้
                             1)  อันดับ ประกอบด้วย

                           (1) อันดับที่เหมาะสม (order S ; Suitability)
                           (2) อันดับที่ไม่เหมาะสม (order N ; Not suitability)

                          2)  ชั้น ประกอบด้วย
                           (1) S1  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (highly suitable)

                              (2) S2  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (moderately suitable)

                              (3) S3  :  ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (marginally suitable)
                              (4) N   :  ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (not suitable)

                             วิธีการประเมินคุณภาพที่ดินหรือประเมินความเหมาะสมของที่ดินสําหรับทานตะวันนั้น
                  ใช้วิธีการจับคู่เพื่อประเมินความเหมาะสมระหว่างความต้องการของทานตะวันกับคุณภาพที่ดิน

                  โดยพิจารณาว่า ทานตะวันมีความต้องการคุณภาพที่ดินเหมาะสมอยู่ในระดับใด ตามชนิดของหน่วยที่ดิน
                  ที่พบในพื้นที่

                             จากการประเมินระดับความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพ สําหรับทานตะวัน (ตารางที่ 3-3)

                  สามารถจําแนกได้ ดังตารางที่ 3-4 และรูปที่ 3-1 ถึงรูปที่ 3-6 ดังนี้
                           -  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ทั้งประเทศ มีเนื้อที่ 8,035,919 ไร่ หรือร้อยละ 9.36

                  ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งประเทศ โดยภาคเหนือมีเนื้อที่ 3,344,089 ไร่  หรือร้อยละ 41.61
                  ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงทั้งประเทศ ภาคกลางมีเนื้อที่ 3,119,147 ไร่  หรือร้อยละ 38.82

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่ 1,545,547 ไร่ หรือร้อยละ 19.23 และภาคตะวันออกมีเนื้อที่ 27,136 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.34

                           -  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) ทั้งประเทศ มีเนื้อที่ 37,084,101 ไร่ หรือร้อยละ

                  43.19  ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งประเทศ โดยภาคใต้มีเนื้อที่  11,404,491 ไร่  หรือร้อยละ 30.75
                  ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางทั้งประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่  10,819,785  ไร่

                  หรือร้อยละ 29.18 ภาคเหนือมีเนื้อที่ 6,396,624 ไร่ หรือร้อยละ 17.25 ภาคตะวันออกมีเนื้อที่ 4,473,223 ไร่
                  หรือร้อยละ 12.06 และภาคกลางมีเนื้อที่ 3,989,978 ไร่ หรือร้อยละ 10.76

                           -  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ทั้งประเทศ มีเนื้อที่ 40,735,171 ไร่ หรือร้อยละ
                  47.45 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งประเทศ  โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่ 22,214,393  ไร่

                  หรือร้อยละ 54.53 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยทั้งประเทศ ภาคเหนือมีเนื้อที่ 7,603,762  ไร่
                  หรือร้อยละ 18.67 ภาคตะวันออกมีเนื้อที่ 4,284,788 ไร่ หรือร้อยละ 10.52 ภาคกลางมีเนื้อที่ 3,443,681 ไร่

                  หรือร้อยละ 8.45 และภาคใต้มีเนื้อที่ 3,188,547 ไร่ หรือร้อยละ 7.83





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108