Page 79 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 79

3-1







                                                         บทที่ 3

                                        การวิเคราะห์เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน




                  3.1  การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ


                      การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพหรือด้านคุณภาพ (qualitative land evaluation) เป็นการประเมิน

                  ศักยภาพของที่ดิน ท าให้ทราบว่าที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ
                  โดยพิจารณาจากคุณลักษณะที่ดินที่ได้จ าแนกไว้ในแต่ละหน่วยที่ดิน (Land Unit, LU) สภาพแวดล้อม

                  ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และระดับการจัดการในการใช้ประโยชน์ที่ดินส าหรับแต่ละประเภท

                  การใช้ที่ดิน (Land Utilization Type, LUT) ซึ่งการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงนี้ได้ศึกษา
                  ตามหลักการของ FAO Framework ค.ศ. 1983

                        คุณภาพที่ดิน (land quality) คือ คุณสมบัติของดินที่ค านึงถึงองค์ประกอบของสภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่

                  โดยรอบ เช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ พืชพรรณธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็น

                  ต้น โดยทั่วไปการประเมินคุณภาพที่ดินทางกายภายจะประเมินสอดคล้องกับหน่วยที่ดินร่วมกับปริมาณ
                  น ้าฝนรายปี ซึ่งในบทที่ 2 ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์หน่วยที่ดินส าหรับการประเมินคุณภาพที่ดินส าหรับ

                  พืชเศรษฐกิจมะม่วงแล้ว โดย หน่วยที่ดิน (ซึ่งพิจารณาจาก ข้อมูลกลุ่มชุดดินและการจัดการที่ดินส าหรับ

                  การปลูกมะม่วง) ร่วมกับปริมาณน ้าฝนรายปี (annual rainfall) เนื่องจากหน่วยที่ดินและปริมาณน ้าฝนของ
                  แต่ละพื้นที่จะมีรายละเอียดเฉพาะ สามารถน ามาประเมินคุณภาพที่ดินได้ ในการศึกษานี้ใช้คุณภาพที่ดิน

                  จ านวน 9 ชนิด ซึ่งสามารถจัดล าดับความส าคัญของคุณภาพที่ดินดังกล่าวได้ดังนี้

                            1)   สภาวะการหยั่งลึกของราก (r)
                            2)   ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o)

                            3)   การมีเกลือมากเกินไป (x)

                            4)   ความเสียหายจากการกัดกร่อน (e)
                            5)   ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (w)

                            6)   ปริมาณสารพิษในดิน (z)

                            7)   ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m)

                            8)   ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n)
                            9)   ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s)

                            รายละเอียดในการประเมินความเหมาะสมของปริมาณน ้าฝน การจัดการที่ดิน และ

                  ทรัพยากรดินมีรายละเอียดตามตารางที่ 3-1 ดังนี้






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84