Page 108 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 108

3-30






                  มีดังนี้ ต้นทุนเฉลี่ยต่อปีไร่ละ 9,623.50 บาท รายได้/มูลค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อปีไร่ละ 14,077.66 บาท

                  ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปีไร่ละ 4,454.16 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 25.82 ต่อปี

                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.46 โดยมีจุดคุ้มทุนในปีที่ 6 ปี 9 เดือน 4 วัน นับว่า
                  การลงทุนได้รับรายได้ค่อนข้างสูงและระยะเวลาคืนทุนช้า (ตารางผนวกที่ 2-22)

                              เมื่อเปรียบเทียบต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนการผลิตมะม่วงตลอดช่วงอายุ

                  ตามรายพันธุ์จะเห็นว่า มะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้สีทอง มีต้นทุนการผลิตมากที่สุดไร่ละ 16,583.41 บาท

                  เป็นต้นทุนผันแปรไร่ละ 11,370.15 บาท (ร้อยละ 68.56) รองลงมาได้แก่ มะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้เบอร์ 4
                  มีต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 15,066.02 บาท เป็นต้นทุนผันแปรไร่ละ 11,082.36 บาท (ร้อยละ 73.56) ต้นทุน

                  ผันแปรที่เป็นค่าวัสดุการเกษตรมีค่าใช้จ่ายมากที่สุดในการปลูกมะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้เบอร์ 4 คิดเป็น

                  สัดส่วนร้อยละ 64.42 เป็นต้น ต้นทุนผันแปรที่เป็นค่าแรงงานคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในการปลูก

                  มะม่วงพันธุ์เขียวเสวยร้อยละ 27.19 (แรงงานคน ร้อยละ 22.71 และแรงงานเครื่องจักร ร้อยละ 4.48)
                  รองลงมาร้อยละ 22.17 (แรงงานคนร้อยละ 19.56 และแรงงานเครื่องจักร ร้อยละ 2.62) ในการปลูก

                  มะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้สีทอง ส าหรับการปลูกมะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้สีทองได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่

                  มากที่สุด คือ ไร่ละ 784.93 กิโลกรัม รองลงมาไร่ละ 782.62 และ 776.55 กิโลกรัม ในการปลูกมะม่วง
                  พันธุ์เขียวเสวยและมะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้เบอร์ 4 ตามล าดับ  การปลูกมะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้สีทอง

                  มีรายได้/มูลค่าผลผลิตต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด และมี

                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดมากที่สุดเนื่องจากราคาขายผลผลิตมากที่สุด กล่าวคือ รายได้/มูลค่า
                  ผลผลิตไร่ละ 36,452.15 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรไร่ละ 25,082.00 บาท ผลตอบแทนเหนือ

                  ต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 19,868.74 บาท และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด เท่ากับ 2.20 นับว่า

                  การลงทุนได้รับรายได้สูง ส่วนต้นทุนต่อกิโลกรัมสูงที่สุดคือ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม ในการปลูกมะม่วง
                  พันธุ์น ้าดอกไม้สีทอง รองลงมาเป็น 19.40 บาทต่อกิโลกรัม ในการปลูกมะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้เบอร์ 4

                  ส าหรับอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดในการปลูกมะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้เบอร์ 4 และ พันธุ์เขียวเสวย

                  เท่ากับ  1.43 และ 1.69 ตามล าดับ นับว่าการลงทุนได้รับรายได้ค่อนข้างสูง (ตารางผนวกที่ 2-23)

                              มะม่วงให้ผลตอบแทนต่อปีสูง และมีระยะคืนทุนเร็ว เนื่องจากเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตเร็ว
                  (ปีที่ 4 หลังการปลูก) จะเห็นจากตารางมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของต้นทุนและผลตอบแทนการผลิต

                  จากการจ าแนกศึกษาในลักษณะต่างๆ ได้แก่ ตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่ มะม่วงในพื้นที่ที่มีระดับ

                  ความเหมาะสมสูง (S1) ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีไร่ละ 20,595.81 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR)
                  ร้อยละ 80.27 ต่อปี  จุดคุ้มทุนปี ที่ 3 ปี  3 เดือน 25 วัน และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด

                  เท่ากับ 2.47  มะม่วงในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีไร่ละ

                  11,384.89 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 52.50 ต่อปี จุดคุ้มทุนปีที่ 4 ปี 11 เดือน 12 วัน






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113