Page 42 - longan
P. 42

3-4




                        3.1.2 คุณภาพทรัพยากรที่ดิน

                            คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช อาจจะประกอบด้วย
                  คุณลักษณะที่ดินตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น ความเป็นประโยชน์ของอ๊อกซีเจนต่อรากพืช (Oxygen
                  availability to roots) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ สภาพการระบายน้ า ความจุในการดูดยึด

                  ธาตุอาหาร (Nutrient availability) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความจุในการแลกเปลี่ยน
                  ประจุบวก (CEC) และความอิ่มตัวด้วยด่าง (%BS) นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบของสภาพ
                  สิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ เช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมด้วย คุณภาพที่ดิน
                  ในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดินและสภาพแวดล้อมนั้น ๆ โดยทั่วไปการประเมิน
                  คุณภาพที่ดินทางกายภาพจะสอดคล้องกับหน่วยที่ดินในแต่ละพื้นที่

                            การจัดท าหน่วยที่ดินส าหรับพืชเศรษฐกิจล าไย เป็นการน าปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการ
                  เจริญเติบโตและพืช โดยเฉพาะทรัพยากรที่ดินมาวิเคราะห์ร่วมกับการใช้ที่ดินในการปลูกล าไย การ
                  พัฒนาแหล่งน้ าหรือโครงการชลประทาน (I) ด้วยการใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็น

                  เครื่องมือในการซ้อนทับข้อมูล เพื่อก าหนดขอบเขตเป็นหน่วยที่ดิน (land unit) ที่มีลักษณะเฉพาะ
                  ซึ่งข้อมูลสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดิน เช่น การระบายน้ า ความลึกของดิน ปฏิกิริยาดิน ความ
                  อุดมสมบูรณ์ของดิน และความลาดชันของพื้นที่ เป็นปัจจัยพิจารณาในการจัดท าคุณภาพที่ดิน (land
                  quality) เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดินทางกายภาพส าหรับพืชเศรษฐกิจล าไย

                            จากการวิเคราะห์และจัดท าหน่วยที่ดินส าหรับพืชเศรษฐกิจล าไย ซึ่งมีลักษณะและคุณภาพ
                  ที่ดินของหน่วยที่ดินในแต่ละพื้นที่ โดยแบ่งตามสภาพที่พบ ดังนี้
                            1) หน่วยที่ดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง
                              1.1)  หน่วยที่ดินที่เป็นดินเหนียวลึกมาก มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                  ถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนเหนียว ดินร่วน ดินร่วนเหนียวปน
                  ทราย ดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนปนทรายแป้ง หรือดินร่วนปนทราย มี
                  ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-8.0 ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวปน
                  ทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินร่วนเหนียว มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-8.5 มีการ

                  ระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลว หรือการระบายน้ าดีปานกลางถึงค่อนข้างเลวในหน่วยที่ดินที่มีการจัดการ
                  พื้นที่เพื่อปลูกไม้ผล (M2) มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ าถึงสูง ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุ
                  บวกต่ าถึงสูง และความอิ่มตัวด้วยด่างต่ าถึงสูง ซึ่งแบ่งตามการพัฒนาพื้นที่เพื่อเกษตรกรรมได้เป็น 4

                  ประเภท คือ
                                  1.1.1)   หน่วยที่ดินทั่วไป ประกอบด้วย หน่วยที่ดิน 1 1B 3 3/8 4 4/33 5 6
                  6B 7 7hi 7hi,B และ 7/4
                                  1.1.2)   หน่วยที่ดินในเขตชลประทาน (I) ประกอบด้วย หน่วยที่ดิน 1I 1BI 3I
                  3I/8I 4I 4I/33I 5I 6I 7I 7hi,I 7hi,BI และ 7I/4I

                                  1.1.3)   หน่วยที่ดินในเขตชลประทาน และมีการจัดการพื้นที่เพื่อปลูกไม้ผล
                  (IM2) ประกอบด้วย หน่วยที่ดิน 1IM2 3IM2 3IM2/8IM2 4IM2 5IM2 6IM2 และ 7IM2
                                  1.1.4)   หน่วยที่ดินที่มีการจัดการพื้นที่เพื่อปลูกไม้ผล (M2) ประกอบด้วย

                  หน่วยที่ดิน 1M2 1BM2 4M2 5M2 6M2 7M2 7hiM2 และ 7hi,BM2




                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47